เก็บตกงานสัมมนาของ VMware : Ready for Any  vForum2015 เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2015

Change การเปลี่ยนแปลงขององค์กร เพื่อทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด มองไปยังอนาคตยังไง ?
Software defined Data Center
Platform ที่ดีต้องสามารถให้ Application Availability
อะไรคือ Top 3 ความต้องการของลูกค้า
1 Resource คุณค่าสูงสุด
2 ออก Product ได้รวดเร็ว Reduce time to Market
3 การลด Cost
อะไรคือ Top 3 ความต้องการของ IT
1 มีประสิทธิภาพ
2 ทนทานสูง
3 Security

เห็นพาดหัวแล้วเกรงว่าทุกคนจะอ่านกันแล้วงงไปใหญ่  เนื่องจากเวลาจัดสัมมนา IT แต่ละครั้งเวลาจะจำกัดมากๆ วิทยากรทุกคนต้องอัดเนื้อหาลงไปให้ผู้ฟังได้รับมากที่สุด ชนิดที่ว่าผู้ฟังไม่มีเวลาลุกเข้าห้องน้ำกันเลยทีเดียว  แต่ต้องยอมรับว่า Speaker แต่ละท่านเตรียมตัวมาดีและมืออาชีพมากๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจจึงขอนำบทความที่ได้สัมภาษณ์ ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีน บริษัทวีเอ็มแวร์  ใน นิตยสารไอที เอ็นเทอร์ไพรส์

โดยมีเนื้อหาคล้ายๆ กับการกล่าวเปิดในงานสัมมนาเพื่อให้พวกเรามองเห็นถึงแนวโน้มเทคโนโลยีในข้างหน้านะคะ
VMware เจ้าพ่อแห่งเทคโนโลยี virtualization ที่เรารู้จักกันดี
http://windowsitpro.in.th/wp-content/uploads/2015/02/dr_chawapol2.jpg
เมื่อซอฟต์แวร์จะกลายเป็นตัวกำหนดทุกอย่าง  และ VMware จะเป็นส่วนเสริมสำคัญในการนี้ IDC ชี้ให้เห็นถึงเทคโนโลยีสำหรับผู้บริหารด้านระบบไอที และวีเอ็มแวร์คือผู้ตอบโจทย์ ภาพรวมเทคโนโลยีของประเทศไทยในปีนี้ทาง วีเอ็มแวร์ (VMware) เชื่อว่ายังคงโฟกัสอยู่ใน 3 ส่วนที่สำคัญ ที่ต้องถือว่าเป็นแรงขับที่จะเข้ามามีส่วนช่วยให้ธุรกิจสามารถที่จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง
ประเด็นแรกเรื่องของ Hybrid Cloud ยังเป็นอะไรที่ต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยที่หากมองย้อนไปดูองค์กรก็จะมีระบบที่เป็น Private Cloud กันอยู่แล้ว ส่วนพวก SMB และ SME ก็จะหันมาเริ่มใช้ Public Cloud กันเป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ Hybrid Cloud น่าจะมาแน่นอน  เทคโนโลยีถัดมาที่หลายคนต้องพูดถึงก็คือเรื่องของ Enterprise Mobility ซึ่งถูกแรงขับจากการใช้งานอุปกรณ์ดีไวซ์ที่เกิดขึ้นมากมาย และประเด็นที่สามก็คือเรื่องของ Big Data Analytic โดยประเด็นนี้มีการพูดคุยกันมาสัก 1-2 ปีที่ผ่านมาจนถึงปีนี้ก็น่าจะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยในการนี้ ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีน วีเอ็มแวร์ มาให้รายละเอียดกับเราในคราวนี้
ดร.ชวพล ยังได้ยกตัวอย่างข้อมูลจากทาง IDC ขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องของผลวิจัยที่ชื่อว่า IDC C-Suite Barometer  เป็นการสัมภาษณ์ผู้บริหารในกลุ่ม CIO ในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกเพื่อดูว่าอะไรคือ “Most appealing technologies for CIOs” หรือเทคโนโลยีสำหรับผู้บริหารด้านระบบไอที โดยมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ เริ่มตั้งแต่ตัว 1) Integrated and Converged Infrastructure – ซึ่งตอนนี้เราจะเห็นได้ว่าโซลูชันยุคใหม่จะมีอุปกรณ์เอ็นเทอร์ไพรส์มาพร้อมกันในตู้เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นตู้แร็คประเภท Hyper Converged Infrastructure ทั้งหลาย โดยสำหรับ วีเอ็มแวร์ ก็จะมีตัวโซลูชันที่ทำร่วมกับคู่ค้าอื่นๆ อีกมากมายชื่อว่า EVO:RAIL เป็นต้น เป็นการรวมเอาระหว่างระบบ Compute, Networking, และ Storage สามารถทำงานได้ทันที เพื่อเป็นการสร้างความคล่องตัวให้กับองค์กร
ต่อมาเป็นเรื่อง 2)  Software Defined Networking และ 3) Software Defined Storage ซึ่งประเด็นนี้ทาง วีเอ็มแวร์ คิดว่าจะมาแรงในปีนี้เพราะมองดูแล้วว่าคนเริ่มให้ความสนใจและเข้าใจมากขึ้น ทั้งเน็ตเวิร์กและสตอเรจต่อไปก็จะถูกกำหนดค่าโดยซอฟต์แวร์เป็นสำคัญ อันดับต่อมา 4) Open Source Cloud และสุดท้ายคือ  5) Software Defined Data Center นี่คือที่องค์กรต่างจะเบนหัวไปสู่เทคโนโลยีที่จะเป็นแนวโน้มเหล่านี้
ดร.ชวพล เล่าต่อไปว่านอกจากเทคโนโลยีและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นนี้ ยังจะเห็นปัจจัยการลงทุนมากขึ้นในภูมิภาคนี้ ซึ่งทาง วีเอ็มแวร์ เองก็เคยมีการทำวิจัยเกี่ยวเรื่องนี้เช่นกัน โดยมีประเด็นอย่างเช่น Business Continuity ที่องค์กรจำเป็นอย่างยิ่งต้องใส่ใจในการลงทุนทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง ถัดมาเป็นประเด็นคือเรื่องของ Cost Saving คือจะต้องหาทางที่ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายโดยรวมลดน้อยลง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาเทคโนโลยียุคใหม่ที่สามารถจะลดต้นทุนแต่สามารถที่จะดำเนินธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่องด้วย
ประเด็นต่อมาที่องค์กรควรจะต้องใส่ก็คงเป็นเรื่องของ Security และ Data Protection ซึ่งยังเป็นสิ่งที่องค์กรยังคงต้องลงทุนต่อเนื่องเช่นกัน นอกจากนั้นแล้วประเด็นที่สี่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญขององค์กรในยุคใหม่นั่นก็คือ Business Agility หรือความคล่องตัวด้านธุรกิจ ทั้งนี้เพราะความต้องการทางธุรกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากองค์กรใดไม่สามารถสร้างความคล่องตัวได้ ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้ในการตอนปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบไอทีในอนาคต
เขายังได้กล่าวต่อไปถึงเรื่องของความแตกต่างที่ วีเอ็มแวร์ มีเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ ในตลาด ด้วยว่า ณ ตอนนี้หากจะพูดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นด้านไหน วีเอ็มแวร์ ก็เรียกได้ว่าเพียบพร้อมในทุกๆ ด้านแล้ว ก็สามารถที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ รวมถึงการที่ วีเอ็มแวร์ ได้มีความร่วมมือกับทางพันธมิตรด้านฮาร์ดแวร์อื่นๆ ทั้งในแง่ของเซิร์ฟเวอร์, เน็ตเวิร์ก, สตอเรจ รวมถึงซีเคียวริตี้ ทั้งหมดจึงทำให้ปัจจุบัน วีเอ็มแวร์ กลายเป็นเวนเดอร์รายหลักๆ ที่จะช่วยสร้างพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของโลกไปสู่การเป็น Software Defined the World ได้เลยทีเดียว !
https://event.on24.com/event/85/90/27/rt/1/logo/event/idc2coltransparentnewlogos.gif
**************************************************
เกริ่นนำพอหอมปากหอมคอแล้ว เรามาดูตัวอย่างของธนาคาร TISCO กันดีกว่า  บรรยายโดย
Ms. Yutiga Sonthayanavin, Chief Information Officer of TISCO Financial Group Plc. and Managing Director of TISCO Information Technology Co.,ltd.
Now & the Future
Mobility is the key.
บริษัทได้รับรางวัลมากมายเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  เป็นรายแรกที่ออมทรัพย์ผ่านตลาดหลักทรัพย์
TISCO กับ Project VDI (Virtual Desktop Make Disaster Recover Quick & Simple)
Business Challenge
โจทย์เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบปฏิบัติการจาก Windows XP ไปเป็น Windows 7 ทางธนาคารประสบปัญหากับการ Migrate PC  โดยใช้เวลาเปลี่ยนผ่านมาก
ต้องการตอบโจทย์ปัจจุบันและอนาคต :
-          เนื่องจาก TISCO มีสาขาน้อย ทำอย่างไรถึงสามารถแสดงข้อมูลให้ลูกค้าได้โดยไม่ต้องเข้า Office
-          ทำอย่างไรเมื่อมีสถานการณ์วิกฤติเกิดขึ้น เช่น น้ำท่วม  ชุมนุมทางการเมือง ไม่สามารถเข้าสาขาได้
-          การพัฒนาคนให้ตามเทคโนโลยีให้ทัน
Key Business Driver
-          Data Center
o   Reduce Data Center costs
o   Reduce Total cost
-          End User Computer
o   Security
o   Mobility
o   Disaster Recovery
o   Windows XP to 7
o   5 year life span
Benefits
-          Mobility  พนักงานอยู่ตาม Showroom วิ่ง 3 จังหวัด ไม่จำเป็นต้องเข้ามาที่ Office ทำให้สามารถรับลุกค้าได้มากเท่าที่ต้องการ
-          Increase user productivity
-          Mobile branch office  ทำให้มีสาขาที่เป็น mobile กว่า 10 คัน
ตัวอย่าง
Marketing สาขาชลบุรี เข้าเยี่ยม Dealer แล้วสามารถ Key ข้อมูลลูกค้า ผ่านอุปกรณ์ซึ่งสะดวกมาก (VDI Project) สามารถดึงข้อมูลจาก User เข้าระบบได้เลย ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ต้องเข้าสาขาและรอคิวใช้คอมพิวเตอร์กัน
Reduce Operation Cost by Centralized Management
เวลาเครื่องมีปัญหาไม่ต้องวิ่งไปเปลี่ยน เปิดจอใหม่ใช้งานได้เลย ทำให้การ Call Service ผ่าน Help Desk ลดลง การ Upgrade SW & OS ทำได้รวดเร็ว ไม่ต้อง Customize ทีละเครื่อง
ถึงแม้ธนาคารจะยังเหลืออีก 20% ที่ต้องแก้ปัญหา แต่เท่าที่ฟังการ Present ในวันนั้นคิดว่าคงพอใจกับการปรับเปลี่ยนค่อนข้างมากทีเดียว  เห็นไหมคะว่าธนาคารขนาดเล็กก็ยังมีการขยับเพื่อการเปลี่ยนแปลง
http://www.nationmultimedia.com/home/2010/02/15/business/images/30122597-01.jpg
แถมท้ายอีกนิดค่ะ
Edge computing ในยุคที่เราต้องไปให้ถึง
มีการทำนายว่าในปี 2018  Traffic ใน Internet จะมีขนาด 8,600 Zettabyte อ่านว่าแปดพันหกร้อยล้านๆ ไบท์
A zettabyte is a measure of storage capacity and is 2 to the 70th power bytes, also expressed as 1021 or 1 sextillion bytes. One zettabyte is approximately equal to a thousand exabytes or a billion terabytes.
คิดดูว่าเยอะขนาดไหน
สมัยก่อนเราต้องการให้ Application ตอบสนองที่ความเร็ว 0.1 วินาที
แต่ปัจจุบันสามารถตอบสนองที่ความเร็ว 0.01 วินาที
Edge computing à จึงเป็นอะไรที่ต้องการ Speed ที่เร็วขึ้นมากกว่านี้
เรื่องของเทคโนโลยียังมีอะไรให้ติดตามต่ออีกมากมายพอๆ กับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธนาคารจะแบบเดิมๆ สู่ยุคใหม่ จะเห็นว่าน้องน้ำเขียนต่อจากเรื่อง IoT ที่เราเรียนรู้กันเมื่อฉบับที่แล้วนะคะ จิ๊กซอร์มันจะเริ่มต่อเป็นรูปร่างขึ้นมาแล้วนะคะ  ต้องติดตามกันต่อค่ะ .....
*****************************
EDGE คืออะไร
          EDGE ย่อจาก Enhanced Data rates for Global Evolution คืิอ เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในทางเทคนิคแล้วเมือเทียบ EDGE กับเทคโนโลยีเครือข่าย 3G มันจะถูกจัดให้อยู่ในมาตรฐาน 2.75G อย่างไม่เป็นทางการ อันเนื่องมาจากความเร็วในเครือข่ายที่ช้ากว่านั่นเอง 
          ระบบ EDGE นั้นพัฒนาจาก ระบบ 
GPRS  ทำให้ความสามารถรับส่งข้อมูลต่อ slot สูงขึ้น โดยถ้าพัฒนากันจริงๆ สามารถรับส่งข้อมูลได้สูงสุดถึง 473.6Kbps แต่สำหรับเมืองไทยนั้น ความเร็วสูงสุดของ EDGE ที่ Operator ปล่อยออกมานั้นจะอยู่ที่ 220 - 236.8Kbps เท่านั้น (หรือที่เราเรียกกันว่า Class 10 ) ซึ่งต่อให้โทรศัพท์มือถือ หรือ AirCard เครื่องไหนที่สามารถรับสัญญาณ EDGE ได้ 473.6 แต่ connect จริงก็จะไม่เกิน 220Kbps เท่าที่ Operator ปล่อยออกมา ความเร็ว EDGE ที่ว่านี้สามารถใช้ เข้าweb ฟังเพลง เล่นเกมส์ chat พร้อมดู webcam ได้สบาย แต่ต้องทำความเข้าใจด้วยว่า EDGE นั้นไม่ต่างจากคลื่นมือถือตรงที่บางช่วงเวลาสัญญาณจะอ่อนหรือหายไป ซึ่งอาจทำให้net สะดุด และด้วยความเร็วที่จำกัดเพียง 200Kbps กว่าๆนี้ คงไม่เพียงพอต่อการใช้ดู TV online หรือ Youtube ได้แบบต่อเนื่อง ซึ่งภาพที่ได้จะสะดุดเป็นช่วงๆ จำเป็นต้องให้download เสร็จก่อนค่อยดูทีเดียว ดังนั้นหากต้องการดู TV ด้วย Aircard คงต้องใช้ Hi-Speed Internet หรือ ใช้ระบบ 3G ซึ่ง 3G จะวิ่งที่ความเร็ว 3.6-7.2Mbps สามารถใช้ดู TV ได้ 3-5 ช่องพร้อมกันแบบสบายๆ แม้ใช้ Aircard ก็ใช้ได้แบบไม่มีติดขัด


ปวีนัฐ  คงบุญ  (น้องน้ำ)

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม