Introduction to Google Trend and Text Analytics
โดย ปวีนัฐ คงบุญ
สายระบบข้อสนเทศได้จัด Workshop หัวข้อ “Introduction
to Google Trend and Text Analytics”ในวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 9.30 – 12.00 น.
หัวข้อ Workshop
1. แนะนำ Google Trend & Google
Correlate (กดต.)
2.
Use
Case ที่ใช้ Google Trend ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ
(ทีมเศรษฐกิจมหภาค ฝศม.)
3.
Basic
of Text Mining and Analytics (กดต.)
Google Trends คือ เครื่องมือของกูเกิ้ลที่ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มการค้นหาคำต่างๆ
ผ่าน Google Search ซึ่งเราจะเรียกมันว่า Search Term
เป็นต้นว่า หากเราอยากรู้ว่าการค้นหาผ่าน Google Search ที่มีคำว่า “โปเกม่อน” รวมอยู่ใน
Search Term มีแนวโน้มเป็นอย่างไร
เราสามารถระบุคำนี้ในช่องค้นหาของ Google Trends เพื่อดูแนวโน้มการค้นหาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้ทันที
(สามารถดูย้อนหลังได้ตั้งแต่ปี 2004) โดยข้อมูลจะแสดงออกมาเป็นเส้นกราฟขึ้นลงตามปริมาณการค้นหาในแต่ละช่วงเวลา
จุดสูงสุดของกราฟจะหมายถึงช่วงที่มีปริมาณการค้นหามากที่สุด
สามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://www.google.com/trends/explore
ท่านผู้ว่าการธปท. เห็นว่าเครื่องมือนี้เป็นประโยชน์ในการทำวิจัยและงานของธปท.ในด้านต่างๆ
จึงสนับสนุนให้พนักงานธปท. รู้จักและเรียนรู้การใช้งานหลายๆ ท่าน
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งาน
โดยเฉพาะในงานด้านกำกับดูแลสถาบันการเงินที่ต้องมีหูตากว้างไกลให้ทันกับเศรษฐกิจยุคใหม่รวมถึงการใช้
Big data ให้เป็นประโยชน์ด้วย
Google Trend & Google Correlate (กดต.)
ใช้ในการทำวิจัยต่างๆ
เช่น
(1) เครื่องชี้ภาวะรายได้ของครัวเรือน
(2) เครื่องชี้ความเชื่อมั่นของ
ครัวเรือน
(3) เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน
และ
(4) เครื่องชี้จำนวนผู้ว่างงาน
Use Case ที่ใช้ Google Trend ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ
(ทีมเศรษฐกิจมหภาค ฝศม.)
ทีมนี้ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ประกันสังคม ,ช่วงการว่างงาน ,ภาวะน้ำท่วม , ภาวะฟองสบู่ของ Bitcoin เป็นต้น
Basic of Text
Mining and Analytics (กดต.)
ขณะนี้ ธปท.
อยุ่ในช่วงศึกษาและนำมาใช้กับงาน
-
Analyzing Behavior & Culture ของ ธปท.
เพื่อวิเคราะห์กรรมการแต่ละประเภท
ว่าใครมีการตอบสนองในที่ประชุมอย่างไรบ้าง
-
Analyzing Topic of
Economics News
โดยเทคนิคการตัดคำในรูปแบบต่างๆ
แบบ Machine
Learning อย่างเช่น Thai
Word Segmentation , Word Representation
, Text Classification
บทสรุป
Google Trends เป็นเครื่องมือที่รวมพฤติกรรมของคนชอบค้นหา
(Search) หาอะไรบนออนไลน์
มีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักการตลาดขึ้นอยู่กับว่าประยุกต์พลิกแพลงมาใช้กันอย่างไร
ไม่มีข้อจำกัดตายตัว ข้อดีคือสามารถนำมาค้นหาอะไรได้เร็ว
และสามารถเป็นผู้ช่วยในการทำงานได้ในหลายๆสถานการณ์ แต่ข้อจำกัดของมันก็มีเช่นกัน
เราต้องเข้าใจถึงกลไกพฤติกรรมการค้นหาของมนุษย์ในหลายๆแง่มุม
บางครั้งการตีความก็ทำได้ยาก และต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นมาเพื่อประกอบการตัดสินใจ
หลายๆคนอาจมองว่ามันยุ่งยาก ให้ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยหาคำตอบมาให้อาจจะง่ายกว่า
แต่อย่าลืมว่าเราเองก็ไม่มีงบประมาณในการทำวิจัยทุกครั้ง
โดยเฉพาะยิ่งกับบริษัทที่มีงบประมาณไม่มากอย่าง SMEs นอกจากนั้นบางจังหวะก็ต้องการข้อมูลที่รวดเร็วกว่าที่บริษัทวิจัยจะหาคำตอบให้ทัน
วิธีการใช้งาน Google
Trends
1.
ระบุ Search Term ที่ต้องการดูข้อมูล
ซึ่งสามารถใส่เปรียบเทียบได้สูงสุด 5 คำ
ย้ำตรงนี้อีกครั้งว่า Search Term ควรจะต้องเฉพาะเจาะจงในระดับหนึ่ง
ซึ่งหากเห็นว่าผลลัพธ์ดูไม่ควรจะเป็นอย่างที่เห็นแล้ว อาจจะต้องเปลี่ยน Search
Term ใหม่
2.
ระบุ ประเทศ ที่เราต้องการข้อมูล
เช่นต้องการดูข้อมูลการค้นหาที่มีคำว่า “Cryptocurrency” เฉพาะในประเทศไทย
เป็นต้น
3.
ระบุช่วงเวลาที่ต้องการดู
สามารถดูย้อนหลังได้ตั้งแต่ปี 2004 หากเป็นกลุ่มคำใหม่ที่ไม่เคยมีการค้นหาในอดีต
แนะนำให้ลดช่วงเวลาเหลือ 3 เดือนล่าสุด หรือ 1 เดือนล่าสุด จะทำให้เห็นกราฟได้ชัดเจนกว่า
4.
ระบุ Category ที่ต้องการดู
ตัวอย่างเช่น คำว่า Cryptocurrency เราสามารถเลือกดูใน Category>Currency
ก็ได้ ตรงนี้แล้วแต่จุดประสงค์ที่จะนำไปวิเคราะห์ใช้งานกัน
5.
ระบุแหล่งค้นหา เช่น Web
search, News search, Youtube search หรือ Google Shopping ข้อมูลที่ได้ก็จะถูกฟิลเตอร์จากแหล่งที่มาที่เราระบุไว้
ประโยชน์กับงานผู้ตรวจสอบดังนี้
1 เป็นเครื่องมือติดตาม
เทรนด์ ( Trend ) และสิ่งที่คนสนใจบนโลกออนไลน์
2 ใช้ในการติดตามธนาคารหรือลูกหนี้ที่อยู่ในความสนใจของตลาดหรือเป็นข่าว
3 ติตตามรูปแบบการธนาคารแบบใหม่แห่งอนาคต
4 เรียนรู้เครื่องมือในโลกยุคดิจิตอล สามารถนำ Big
data มาใช้ประโยชน์ได้
5 เครื่องมือนี้ยังสามารดูทั้งมิติเวลาและภูมิศาสตร์แบบละเอียด สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานตรวจสอบได้
6 สามารถเปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นกระแสต่อกระแส แบรนด์ต่อแบรนด์ ช่วงเวลาต่อช่วงเวลา
สถานที่ต่อสถานที่ จังหวัดต่อจังหวัด เมืองต่อเมือง ฯ
โดยไม่ต้องสนใจเรื่องปัจจัยด้านประชากรอินเตอร์เน็ต
7 วิเคราะห์และทำ Keyword
Analysis เบื้องต้น
ข้อควรระวัง
· ข้อมูลที่เก็บบน Google มีตั้งแต่ปี 2547
· 1/1/2559 Google เริ่มเก็บข้อมูลแบบใหม่
ดังนั้นให้ระวังการต่อ Series อาจไม่ Smooth
· ไม่สามารถใส่ข้อมูลรายไตรมาสเข้าไปช่วยวิเคราะห์ได้ ใส่ได้แต่รายเดือน
รายปี
· ควรเลือกคำที่มีคนใช้เยอะพอ
ความคิดเห็น