Peer to peer lending (P2P Lending)
Peer
to peer lending (P2P Lending) หมายถึง
การกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลต่อบุคคล โดยผ่านตัวกลางที่เป็น Platform ทำหน้าที่ Match maker โดย Match maker มิได้เป็นผู้รับความเสี่ยงด้านเครดิต
ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วโลก
ด้วยเหตุผลสำคัญคือเรื่องของราคา (Pricing) นั่นคือผู้กู้สามารถมีช่องทางการกู้เงินที่ถูกลง
ขณะที่ผู้ให้กู้ (หรือผู้ลงทุน) มีช่องทางการลงทุนที่ได้ดอกเบี้ย
หรือผลตอบแทนสูงขึ้น
เอกสารจาก ธปท.
https://www.bot.or.th/Thai/ConsumerInfo/Documents/P2P_3May2019.pdf
เอกสารจาก ธปท.
https://www.bot.or.th/Thai/ConsumerInfo/Documents/P2P_3May2019.pdf
โดยปกติการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชน จะนึกถึงแบงค์ก่อน เช่น Corporate
ระดมทุนผ่านตลาด 300 ลบ. up
ปัจจุบันประเทศไทยมี lending company หลากหลาย เช่น pico สินเชื่อระดับจังหวัด
จะมีแตกต่างที่อัตราดอกเบี้ย ผู้ลงทุนอยากได้ผลตอบแทนอะไรที่ดีกว่าเงินฝากที่สามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง
Crowdfunding
VS 2P2 lending แตกต่างกันอย่างไร
Crowdfunding ใน ตปท. มีรูปแบบอย่างไร
เป็นการระดมทุนผ่านคนจำนวนมากผ่านทาง internet เอาตัว
return มาตัด สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม
1
Non Financial Funding
-
การบริจาคเพื่อใช้ในโครงการต่างๆ เราไม่ได้รับผลตอบแทน
ได้เอกสารลดหย่อนภาษี
ตัวอย่าง Donation
เพื่อเด็ก เยาวชน สูงอายุ
2
Reward Crowdfundingได้เป็นสินค้าบริการตอบแทนกลับมามีความเสี่ยงน้อยมาก
ตัวอย่าง บริษัทต้องการระดมทุนสร้างเตาอบพิซซ่า ขอเงินทุนมาสร้างผลิตภัณต้นแบบ
เราจะได้สินค้าล๊อทแรกตอบแทน
3
Equity Crowdfunding ได้สิทธิความเป็นเจ้าของได้
ผลจอบแทนคือเงินปันผล ได้รับตราสารหนี้ ดบ.
ตัวอย่าง ช่างตัดผม ระดมทุนสร้างร้าน การสร้างเครื่องแลกเหรียญ
ไม่มีค่า fee ลักษณะขยายกิจการ
คนลงทุนได้สิทธิความเป็นเจ้าของ
P2P
ถ้าเราลงทุนต้องทำสัญญาสินเชื่อ
เราต้องยอมรับความเสี่ยงได้ ไม่ว่าเงินต้น หรือ ดอกเบี้ย
Debt Crowdfunding เช่น solar bond ผลิตพลังงานจำหน่าย
คือถ้ากู้แบงก์ต้องมีความเสี่ยงและอัตราดบแพง
ถ้าทำแบบนี้สามารถกำหนดระยะเวลากู้เองได้ตามที่เราต้องการ
Platform
จะประเมินความเสี่ยง สินเชื่อบุคคล หรือ Business
เช่น กู้จ่ายค่าสร้างบ้าน ค่าเทอมลูก ต้องเสียค่าใข้จ่ายผ่านทางนี้เท่าไร
ต้องการระดมทุนกี่วัน ต้องมีเงื่อนไขละเอียด
ใน ตปท การกู้ผ่าน p2p แนวโน้มเพิ่มขึ้น
เม็ดเงินประมาณ 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
จีนกู้เยอะมากๆ ถึง 93% พอมีเทคโนโลยีเข้ามา ก็ทำให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายดาย
US
UK ไม่โตแบบก้าวกระโดดแบบจีน
การแบ่งผู้คุมกฎ
ถ้าบริษัทอยากกู้แบบ p2p จะมีนิยามของบริษัท
ภายใต้การกำกับของ กลต. ฝั่งธปท. จะดูผู้กู้ที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
ดูที่ว่าผู้กู้เป็นใคร
ทำไมถึงต้องกำกับดูแล
จีน พอเข้าไปดูธุรกรรม 90% เป็นการปลอมขึ้นมา เป็นแชร์ลูกโซ่
เช่น Lendingclub ทำธุรกรรมปลอม Fraud
P2P
ยังมีความเสี่ยงอื่นเช่น cyber ,การล้ม platform
, การล้ม default risk
ทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียขึ้นมาแทนได้
เราต้อง concern ข้อมูลส่วนบุคคลเช่นกัน ต้องมี governance
ที่ดี เช่น ผู้ถือหุ้นเป็นใคร
ระบบงานต้องมีความพร้อม การคุ้มครองผู้บริโภคตาม กฎหมาย
การกำกับดูแล ผู้กู้ ผู้ปล่อยกู้
Platform
เราจะเลือกให้ธุรกิจเติบโตก่อนแล้วค่อยกำกับดูแล จะมีความเสียหายจำนวนมาก
ประเทศไทยกำกับแต่แรกๆ ควรมีควรทำ มีมิติแบบที่ 2
กำกับตัวกลาง platform match maker เช่น
web /mobile app
ผู้ลงทุนอยากได้รายได้ สมัครการใช้บริการผ่าน platform ประเมินว่ายอมรับความเสี่ยง
ถึงจะอนุญาตให้ลงทุนได้
บุคคลที่ 3 เช่น สง. บล
Blockchain ที่พิสูจน์ได้ว่าไม่ล้วงเงินของลูกหนี้
เมื่อรวบรวมเงินได้ครบ 3th party ก็เอาไปให้คนกู้
Repayment
ก็ผ่านบุคคลที่ 3
การทำสัญญาผ่าน electronic ผู้กู้และผู้มก้กู้ไม่เห็นหน้ากัน
การรายงาน NCB ต้องดู กฏหมายก่อน
ข้อจำกัด มุมหนี้ภาคครัวเรือน
ถ้ากู้เพื่ออุปโภคบริโภคนับรวมกันห้ามเกิน 3 แหล่ง
คิดดอกเบี้ย ได้ไม่เกิน 15% ไม่รวมค่าธรรมเนียม ส่วน platform ได้ on top ต่างหาก
Borrower
ไม่สามารถเลือก ดบ เองได้ขึ้นกับคุณสมบัติของคนกู้
ต้องมี model
ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์
การทำสัญญาแล้วแต่ platform ออกแบบ
ให้เป็นตามกฎหมายตรวจสอบโดยทีม Fintech ธปท.
ปัจจุบัน P2P
Lending ได้เกิดขึ้นแล้วเช่นกันในบ้านเราหลาย ๆ แพลตฟอร์ม ยกตัวอย่างเช่นบริษัท Peer Power ที่เน้นการทำ Platform สำหรับผู้กู้-ผู้ให้กู้ของกลุ่มลูกค้า SME หรือ ได้เงิน.com ที่จับตลาดในกลุ่มสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
โดยอัตราดอกเบี้ยที่ผู้กู้ต้องจ่ายอยู่ที่ระดับไม่เกิน 15% ต่อปี (ตามกฎหมาย)
ซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายผ่านสถาบันการเงินในท้องตลาดปัจจุบัน
ขณะที่ผู้ฝากเงินใน Platform ในปัจจุบันได้รับดอกเบี้ยสูงถึงประมาณ 9
– 12% ซึ่งนับว่าสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากมาก ๆ
อย่างไรก็ตาม กลไกของ P2P Lending คือระบบออนไลน์นั้นทำหน้าที่เป็นตัวกลาง matching ระหว่างผู้ฝาก และผู้กู้โดยได้รับค่าธรรมเนียมหลักในรูปของ spread โดยผู้ให้กู้ต้องเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้ (NPL)
ยกตัวอย่างเช่น
นาย ก. เป็นผู้ปล่อยกู้ผ่านระบบ P2P Lending สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์มือ 2 เป็นเงิน 1 ล้านบาท
โดยระบบ P2P
Lending ได้จัดสรรให้ปล่อยกู้ไปที่รถยนต์ 100 คัน โดยผู้ให้กู้ได้รับดอกเบี้ย 12% หรือปีละ 120,000 บาท
หากเวลาผ่านไปมีเจ้าของรถยนต์ที่ผิดนัดชำระหนี้ 5 คันและไม่สามารถยึดรถมาขายทอดตลาดได้
เท่ากับว่าผู้ให้กู้เจอกับหนี้สูญ (NPL) 5%
สุทธิแล้วเท่ากับว่าดอกเบี้ยที่ได้รับหลังหักด้วย NPL = 12 – 5 = 7%
ดังนั้นการที่นักลงทุนจะปล่อยกู้ผ่านระบบ P2P Lending นั้น สิ่งที่ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีคือความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ของสินเชื่อชนิดที่เราปล่อยกู้
อีกประการที่สำคัญมากคือเรื่องการกระจายความเสี่ยงของการปล่อยกู้ (Diversification) ซึ่งหลัก ๆ แล้วการปล่อยกู้ผ่าน P2P Lending Platform นั้นผู้กู้ส่วนใหญ่จะไม่มีเครดิตเรตติ้ง
นั่นคือมีระดับความเสี่ยงเครดิตที่สูง ดังนั้นหัวใจสำคัญของการปล่อยกู้ในระบบ P2P
Lending คือการกระจายการลงทุนมาก ๆ
ถ้าไม่กระจายการลงทุนให้ดี เช่น ปล่อยกู้ให้กับรถยนต์แค่ 10 คันแทนที่จะเป็น 100 คัน เท่ากับว่าถ้าแจ็กพ็อตมีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้นเพียง 1 คันเท่ากับว่าเงินปล่อยกู้เราหายไปถึง 10%
ลองคิดดูแล้วบทเรียนเรื่องการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ของบ้านเราในหลายปีที่ผ่านมานั้นก็มีหลายบทเรียนเช่นกัน
เช่น กองทุนตราสารหนี้ประเภท non-rate ในบ้านเรามักจะลงทุนเพียง 4
– 5 บริษัทเวลาโดนผิดนัดชำระหนี้ครั้งนึงก็ทำให้เงินต้นหายไปจำนวนมาก
ซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วหลาย ๆ ครั้งในบ้านเราและมีการร้องเรียนกันอย่างมากมาย
หรือการลงทุนในหุ้นกู้เป็นตัว ๆ ตั๋วบีอีเป็นใบ ๆ ครั้งละมาก ๆ
โดยที่ผู้ลงทุนไม่ได้กระจายการลงทุนให้ดีที่ผ่านมาก็สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนมาแล้วไม่น้อยเช่นกัน
คนมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับ P2P lending ที่ว่านี้อย่างไรบ้าง
1.
P2P lending คือการกู้นอกระบบ
ด้วยความที่ระบบ P2P lending เป็นการเชื่อมต่อผู้ขอสินเชื่อกับนักลงทุนที่เป็นบุคคลทั่วไป
คนส่วนใหญ่จึงมักเข้าใจผิดว่า P2P lending คือการกู้นอกระบบ
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว P2P lending ต่างจากการกู้นอกระบบอย่างสิ้นเชิง
โดยแพลตฟอร์ม P2P lending เช่น PeerPower นั้น ได้ทำการพัฒนาระบบคำนวณคะแนนเครดิต (credit score) โดยระบบได้ทำการประมวลข้อมูลจากเครดิต บูโร
เพื่อตรวจสอบประวัติการชำระหนี้ รวมถึงข้อมูลจำเป็นอื่นๆ เช่น ประวัติการทำงาน
เพื่อประเมินความสามารถในการชำระเงินของผู้ขอสินเชื่อ
รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ขอสินเชื่อควรได้รับ
กระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้กู้เงินมีวินัยในการชำระสินเชื่อตรงเวลา
จะเห็นได้ว่า การกู้ผ่านแพลตฟอร์ม P2P lending มีมาตรฐานและความโปร่งใสกว่าการกู้นอกระบบ
นอกจากนี้ ดอกเบี้ยของระบบ P2P lending มักจะต่ำกว่าการกู้นอกระบบมาก โดยทั่วไป การกู้นอกระบบจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 5-20% ต่อเดือน ในขณะที่การกู้ผ่านระบบ P2P lending เช่น PeerPower
นั้น มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 8-15% ต่อปี
ซึ่งปฎิบัติตาม พรบ. การเก็บดอกเบี้ย เมื่อเกิดการผิดชำระหนี้
ตัวกลางทำหน้าที่ในการติดตามทวงถามหนี้ซึ่งก็ต่างจากการกู้นอกระบบ
2.
P2P lending เป็นทางเลือกที่ไม่ได้รับความนิยม
P2P lending มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.
2548 โดยมีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ปัจจุบัน หากเทียบเป็นจำนวนเงินกู้ต่อประชากร ตลาด P2P lending ในอังกฤษถือว่าเป็นตลาดเงินกู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
โดยคิดเป็นจำนวนเงินที่กู้ต่อหัวสูงกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 72% ในขณะที่สหรัฐฯ
มีมูลค่าการกู้ผ่านแพลตฟอร์ม P2P lending สูงที่สุด (6.6
พันล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งถือว่ามีอัตราการเติบโตจากปีที่แล้วสูงถึง 128%
ซึ่งตัวเลขดังกล่าวบ่งบอกถึงความนิยมของ P2P lending ในต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
สาเหตุหลักๆ ที่ P2P lending ได้รับความนิยมในต่างประเทศนั้น
เนื่องจากการกู้ผ่านแพลตฟอร์ม P2P lending ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งสองฝ่าย
ในด้านของผู้ขอสินเชื่อ
อัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินทั่วไป
ส่วนในมุมของนักลงทุนนั้น ก็จะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการนำเงินไปฝากธนาคาร
หรือซื้อธนบัตรรัฐบาล เป็นต้น หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่าทำไมการกู้แบบ P2P
lending สามารถให้อัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนที่จูงใจได้ คำตอบคือ ระบบ P2P lending เป็นตลาดปล่อยสินเชื่อที่ทำผ่านระบบออนไลน์
ทำให้ต้นทุนในการดำเนินการของผู้ให้บริการ P2P lending นั้นต่ำกว่าธนาคารซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ
ที่ช่องทางออนไลน์ไม่มี เช่น การเปิดสาขา การจ้างพนักงานประจำสาขา เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้ที่เป็นนิยมสูงของ P2P lending คือ
การกู้ยืมเพื่อไปปิดหนี้สินบัตรเครดิต
เนื่องจากดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตมักจะสูงกว่าสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทอื่นๆ
3.
P2P lending เป็นเรื่องไกลตัว
หลายคนมักเข้าใจว่า
P2P
lending เป็นเรื่องใหม่ และน่าจะใช้เวลาอีกนานสำหรับธุรกิจประเภทนี้ที่จะดำเนินการในประเทศไทย
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วในขณะนี้ ธปท.เตรียมประกาศเกณฑ์ประกอบธุรกิจ Peer-to-Peer
Lending Platform พร้อมเปิดให้ผู้สนใจยื่นเข้าทดสอบในแซนด์บ็อกซ์ภายในสิ้นปีนี้
เพื่อเอื้อต่อธุรกิจฟินเทค และส่งเสริม startup economy ของประเทศไทย
ซึ่ง PeerPower เองก็เป็นหนึ่งในบริษัทแรกของคนไทยที่กำลังดำเนินการตามแนวทางของธปท. และกระทรวงการคลังอยู่เช่นกัน
4.
ผลตอบแทนสำหรับนักลงทุนแปรตามกลไกตลาด
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าผลตอบแทนจากแพลตฟอร์ม
peer-to-peer
lending จะแปรตามกลไกตลาด
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผลตอบแทนของนักลงทุนจะมีความแน่นอนและไม่แปรเปลี่ยนไปตามภาวะตลาด
เนื่องจากในการทำสัญญากู้เงินและลงทุนได้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยชัดเจนชัดเจน
ฉะนั้นการลงทุนใน P2P lending จึงให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอเป็นรายเดือน
(stable returns) ในขณะเดียวกัน
อัตราดอกเบี้ยของผู้กู้ก็เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (fixed rates) ซึ่งสอดคล้องกับประสบการณ์และสถิติการดำเนินการ P2P lending ในประเทศอื่นๆ
ความคิดเห็น