หัวหน้าธปท. ในการทำงานของข้าพเจ้า

หลังจากสำเร็จการศึกษาปริญาตรีคณะวิทยาศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ ม. เกษตรศาสตร์  ก็ได้เข้าฝึกงานที่ ธปท. เป็นเวลา 3 เดือน ที่สำนักงานสุรวงศ์
ข้าพเจ้าเริ่มทำงานที่ธปท. ตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งเป็นยุคเปลี่ยนแปลงใหญ่ คือการลอยตัวค่าเงินบาท



ดำรงตำแหน่ง :
13 ก.ค. 2539 - 28 ก.ค. 2540​

จำได้วันที่ประกาศลอยตัวค่าเงิน ข้าพเจ้ามาถึงที่ทำงาน 7 โมงเช้า ก็ว่าเช้ามากแล้ว ปรากฏว่ามีรถนักข่าวมากมาย มาจอดรอแล้ว  เราก็ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องอะไร เนื่องจากไม่ได้ติดตามข่าว มาทราบเอาตอนเย็น
ผู้ว่าถูกเปลี่ยนกลางอากาศ 
วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 (อังกฤษ : 1997 Asian financial crisis) หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” เป็นช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน


ดำรงตำแหน่ง :
31 ก.ค. 2540 - 4 พ.ค. 2541​

ช่วงนี้ใช้ผู้ว่าเปลืองแต่ละท่านดำรงตำแหน่งได้ไม่นานมีเหตุให้ต้องไป
เขียน Winnie The Pooh หมีอันโด่งดัง
ท่านลาออกเอง 

ดำรงตำแหน่ง :
7 พ.ค. 2541 - 30 พ.ค. 2544​

ท่านผู้ว่าการที่ได้ชื่อว่าฝีปากจัด ผู้บริหารถึงขั้นเกรงกลัวเวลาเข้าไปรับงาน ถ้าใครไม่แม่นจริงงานมีมีหนาว เกิดการเปลี่ยนแปลงใน IT และสายงานต่างๆ มากมาย 
ท่านไม่สามารถสู้การเมืองได้ จึงต้องออกก่อนหมดวาระ

ดำรงตำแหน่ง :
31 พ.ค. 2544 - 6 ต.ค. 2549​

ท่านดูเป็นคุณชายมากที่นิยมจัดงานเต้นรำ และมีฝีปากที่ไม่แพ้ใครทำให้ ธปท. เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ
จัดทำองค์กรกะทัดรัด มีพนักงาน Early Retired จำนวนมาก

ดำรงตำแหน่ง :
8 พ.ย. 2549 - 30 ก.ย. 2553​

ท่านผุ้ว่าหญิงเก่งคนเดียวของธปท. ที่สามารถดำรงตำแหน่งจนครบวาระได้
ทุกคนใน ธปท รอกฟังข่าวการเปลี่ยนแปลงในองค์กรแต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มี อิๆ
มี พรบ. สถาบันการเงินเกิดขึ้น

วิกฤติการเงินครั้งใหญ่ของโลกในช่วงปี 2550-2551
 หรือที่เรารู้จักกันในนาม ” วิกฤติการเงิน Hamburger crisis “


ดำรงตำแหน่ง :
1 ต.ค. 2553 - 30 ก.ย. 2558

ท่านผู้ว่าการที่มาจากคนนอก สามารถเข้าชิงมาได้ด้วยคะแนนขาดลอย. และสามารถดำรงตำแหน่งจนครบวาระได้ ทั้งๆ ที่ไม่ถูกกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และ รมต. กระทรวงการคลัง แต่ท่านก็นิ่งสงบสยบความเคลื่อนไหว
เกิดค่านิยมร่วม
ยืนตรงมองไกล​ยืนมือ​ติดดิน​

ด​ำรงตำแหน่ง :
1 ต.ค. 2558 -

เป็นท่านผู้ว่าที่อายุน้อยสุดรองจาก ดร.ป๋วย ท่านได้รับคัดเลือกเข้ามาท่านกลางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นฟู มีโจทย์ให้แก้ปัญหามากมาย  พร้อมกับท่านชอบเล่นกับข้อมูล  ทำให้ยุค Data Analytic และ IT เฟื่องฟู
เกิดพฤติกรรมหลัก 5 ประการ
ที่สำคัญท่านชอบประหยัดมากๆ และรับคนนอกมาเป็นผู้บริหารเยอะมากเช่นกัน
2563 เกิดไวรัสโควิดทั่วโลก + พรก. ช่วยลูกหนี้ ทำให้เราได้ Work From Home กันถึง 2 เดือนเต็ม ในการที่ทำงานที่บ้าน และทะยอยเริ่มเข้า office ช่วย มิย 50%และ 100% ตามลำดับ
คนติดเชื้อทั่วโลก แม้แต่พม่า ก้อเอาไม่อยู่เริ่มมีคนติดเชื่อทางชายแดน

24 ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ 
ช่วงที่ดำรงตำแหน่งสร้างชื่อเสียงให้กับ ธปท เป็นที่น่าเชื่อถือ แก่คนภายนอก ถึงแม้จะมีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาลเรื่องการลดอัตราดอกเบี้ย
1ตค2563
ปีนี้เริ่มต้นปีด้วยโรคโควิดกลับมาระบาดใหญ่อีกรอบ ตอนแรกก้อยังไม่หนัก จนกระทั่งมาแตกเอาตรงบ่อนพนัน และแรงงานที่ลักลอบเข้าเมือง พร้อมกับแพร่เชื้อ ทำให้ต้องงดการเดินทางไปมา เราต้องอยู่กับบ้านในช่วงปีใหม่ จนกระทั่งถึง กพ 
ที่ทำงานให้ WFH 100% อีกครั้ง รอบนี้มีการเตรียมการอย่างดี
กลางปี 2564 น่าจะมีการฉีดวัคซีนกัน



เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของไทย



​ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 20/2563


เรื่อง มาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือ SMEs และดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้เอกชน
เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19

ธปท. เผย 4 มาตรการช่วยเหลือธุรกิจ SMEs และรักษาเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน

          นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. และกระทรวงการคลังได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อออกมาตรการช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โรคโควิด 19) ต่อประชาชนและภาคธุรกิจมาต่อเนื่อง แต่การแพร่ระบาดมีแนวโน้มรุนแรงและยาวนานกว่าคาด จึงมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยและเป็นแหล่งการจ้างงานหลักของประเทศ ให้มีเงินทุนและสภาพคล่องเพียงพอเพื่อดำเนินธุรกิจและรักษาการจ้างงานต่อไปได้ รวมทั้งต้องมีมาตรการเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน เพื่อรักษาช่องทางการระดมทุนของภาคเอกชนและรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ โดยมาตรการในครั้งนี้จะประกอบด้วย 4 ส่วนที่สำคัญ
           มาตรการที่ 1 : การเลื่อนกำหนดการชำระหนี้สำหรับธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อช่วยให้ SMEs มีสภาพคล่อง
          ธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธนาคาร) แต่ละแห่งไม่เกิน 100 ล้านบาท ได้รับสิทธิ์เป็นการทั่วไป ไม่ต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 เดือน และในช่วงที่ผ่อนปรนนี้ไม่ถือว่าเสียประวัติข้อมูลเครดิต
          ธปท. หวังว่ามาตรการนี้จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ SMEs ทำให้ SMEs มีเงินสดในมือเพื่อรองรับรายจ่ายจำเป็น โดยเฉพาะค่าจ้างพนักงาน นอกจากนั้น ธปท. คาดหวังว่าในช่วง 6 เดือนนี้ ธนาคารจะต้องทำงานร่วมกับลูกหนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ปรับแผนการผ่อนชำระหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง และช่วยจัดโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกหนี้
          ส่วนธุรกิจ SMEs ที่ไม่ได้ประสบกับปัญหาสภาพคล่องในช่วงนี้ ธปท. แนะนำว่าควรชำระหนี้ตามปกติหรือตามความสามารถ เพราะมาตรการนี้เป็นเพียงการเลื่อนกำหนดวันชำระหนี้เท่านั้น ธนาคารยังคงคิดดอกเบี้ยอยู่ และที่สำคัญ การชำระหนี้ตามปกติจะช่วยให้ธนาคารมีสภาพคล่องที่จะไปดูแลธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤตการณ์โควิด 19 ได้มากขึ้นด้วย
          นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) เข้าไปช่วยเหลือสภาพคล่องให้ลูกหนี้ได้อย่างเต็มที่ ธปท. จึงได้ผ่อนปรนเกณฑ์การบริหารสภาพคล่องชั่วคราว
          มาตรการที่ 2 : การสนับสนุนสินเชื่อใหม่ (soft loan) ให้แก่ธุรกิจ SMEs วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษร้อยละ 2 ต่อปี โดยไม่คิดดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก
          ธปท. จัดสรร soft loan อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี ให้ธนาคารวงเงินรวม 5 แสนล้านบาท เป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ธนาคารนำไปให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ SMEs ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศและ มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท และมีสถานะผ่อนชำระปกติ หรือ ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน (ยังไม่เป็น NPL) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 มาตรการนี้ไม่ครอบคลุมถึงบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET และ  MAI)  โดยวงเงินที่ SMEs แต่ละรายสามารถขอกู้ได้จะไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้างของลูกหนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 สำหรับ SMEs ที่สนใจ สามารถขอสินเชื่อได้ที่ธนาคารที่ท่านเป็นลูกค้าและมีวงเงินสินเชื่ออยู่
          ในช่วง 2 ปีแรก ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษร้อยละ 2 ต่อปี โดยในช่วง 6 เดือนแรกรัฐบาลจะรับภาระดอกเบี้ยแทนลูกหนี้ ส่งผลให้ลูกหนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย และเพื่อสนับสนุนให้ธนาคารเร่งปล่อยสินเชื่อใหม่ในภาวะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ยังมีความไม่แน่นอนสูง รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจะชดเชยความเสียหายบางส่วนให้แก่ธนาคารในส่วนที่ปล่อยกู้เพิ่มเติมด้วย กรณีที่หนี้กลายเป็นหนี้เสียเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 2 ปี โดยรัฐบาลจะชดเชยความเสียหายให้ไม่เกินร้อยละ 70 ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มสำหรับลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 50 ล้านบาท และชดเชยให้ไม่เกินร้อยละ 60 ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มสำหรับลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อ 50-500 ล้านบาท
          มาตรการที่ 3 : มาตรการเสริมสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน 
การหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และความผันผวนที่สูงขึ้นมากในตลาดการเงินโลก ส่งผลต่อเนื่องมายังตลาดการเงินไทย ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนบางส่วนได้เทขายตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนซึ่งเป็นช่องทางการออมที่สำคัญของประชาชนและการระดมทุนของภาคธุรกิจ ปัจจุบันตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนของไทย มียอดคงค้างประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท หรือกว่าร้อยละ 20 ของ GDP ทั้งนี้ หากกลไกตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนไม่สามารถทำงานได้ปกติ หรือผู้ลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน การระดมทุนหรือต่ออายุหนี้ (rollover) ของธุรกิจจะทำได้ยาก แม้ธุรกิจที่มั่นคงก็อาจจะไม่สามารถระดมทุนได้ หรือต้องระดมทุนด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นมาก จึงมีความเสี่ยงที่ปัญหาการขาดสภาพคล่องจะลุกลามในวงกว้าง เป็นปัญหาเชิงระบบตามมา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ออมเงินผ่านตัวกลางต่าง ๆ ที่ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน อาทิ กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนประกันสังคมด้วย
          เพื่อดูแลเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนและกลไกของตลาดการเงินให้ทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง ธปท. และกระทรวงการคลังจึงเห็นควรจัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน  (Corporate Bond Stabilization Fund: BSF) เพื่อเป็นแหล่งเงินสำรองชั่วคราว (bridge financing) สำหรับเข้าไปซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่มีคุณภาพดีที่มีตราสารหนี้ครบกำหนดชำระในช่วงปี 2563-2564 ทั้งนี้ บริษัทที่ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ จะต้องชำระอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราตลาด ต้องระดมทุนส่วนใหญ่ได้จากแหล่งเงินทุนอื่น เช่น การกู้เงินธนาคารพาณิชย์หรือการเพิ่มทุน ต้องมีแผนการจัดหาทุนในระยะยาวที่ชัดเจน รวมทั้งต้องผ่านเกณฑ์และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำกับกองทุนกำหนด ทั้งนี้ หากผู้ออกตราสารหนี้เสนอขายตราสารหนี้ต่อนักลงทุนทั่วไปและมีการให้หลักประกันแก่ผู้ถือ ตราสารหนี้ที่กองทุน BSF จะลงทุนในคราวเดียวกันต้องมีหลักประกันไม่ด้อยกว่าหลักประกันที่ให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้อื่น
          มาตรการที่ 4 : ลดเงินนำส่ง FIDF ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (สถาบันการเงิน) เพื่อลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ของภาคธุรกิจและประชาชน
          ธปท. ปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (Financial Institutions Development Fund: FIDF) จากเดิมอัตราร้อยละ 0.46 เหลือร้อยละ 0.23 ของฐานเงินฝาก เป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อให้สถาบันการเงินไปปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มเติมให้กับประชาชนและภาคธุรกิจในทันที  
          นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เพื่อให้ ธปท. สามารถดำเนินมาตรการช่วยเหลือ SMEs และดูแลเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนข้างต้นได้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) สองฉบับ ได้แก่
          1. ร่าง พ.ร.ก. การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และ
          2. ร่าง พ.ร.ก. การสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน
          ธปท. ขอเรียนว่า พ.ร.ก. ทั้งสองฉบับนี้ให้อำนาจ ธปท. บริหารจัดการสภาพคล่องและปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และมีกลไกที่รัฐบาลจะช่วยรับภาระชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นกลไกที่จำเป็นในภาวะที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ยังมีความไม่แน่นอนสูงและอาจจะยืดเยื้อ พ.ร.ก. ทั้งสองฉบับนี้ จะช่วยให้ ธปท. มีเครื่องมือเพิ่มขึ้นสำหรับช่วยเหลือธุรกิจ SMEs และมีเครื่องมือที่พร้อมใช้ดูแลเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนได้อย่างทันการณ์
          ธปท. เชื่อมั่นว่ามาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มาตรการสนับสนุนให้สถาบันการเงินเร่งปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ มาตรการผ่อนปรนการชำระหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อย รวมถึงมาตรการเพิ่มเติมในครั้งนี้จะช่วยดูแลประชาชน ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งช่วยรักษาเสถียรภาพของตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนและระบบการเงินของประเทศให้ทำงานได้ต่อเนื่อง ธปท. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมจะมีมาตรการเพิ่มเติมหากจำเป็น 
ธนาคารแห่งประเทศไทย 
7 เมษายน  2563

ประวัติ การทำงาน
2540 ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวหน้า: คนีงนิจ พฤษ
ศรัณย์ ธำรงรัตน์
จิราพรรณ ลิ่มศิลา
นรสี พุทธรักษา
อภินันทน์ วัชรางกูร
ได้ชั้น 5
ผู้วิเคราะห์อาวุโส
2550 ฝ่ายวางแผนและพัฒนา
หัวหน้า: ชาตรี วรวณิชชานันท์
วิภา กังสดาร
2560 ฝ่ายประเมินความเสี่ยงและแบบจำลอง สง.
ผู้วิเคราะห์อาวุโส(ควบ)
หัวหน้า: วันทนีย์ บุญบานเย็น
2562 ฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสี่ยง สง.
หัวหน้า: วันทนีย์ บุญบานเย็น
ผอ พลเดช ภูมิมาศ
2562 ฝ่ายบริหารข้อมูล
หัวหน้า: อริศรา ธัญญธาดา
วีรยา วงศ์วัชรไพบูลย์
ผอ สุนันทา คงศรีเจริญ
2563 ฝ่ายบริหารข้อมูลและดาต้าอนาไลติกส์
หัวหน้า: ผบส.นุชนารถ ปานทอง
ผบส.ภัทราพรรณ วงศาโรจน์
ผบ.นัทธ์หทัย หวังเสริมวงศ์
ผอส.วันประชา เชาวลิตวงศ์
2578 เกษียณ

   
น้องๆ ที่เคยสอนงาน

ตอนอยู่ สกส
น้อง IT
ชนาพร พิกุลนาควงศ์
ธภสนันท์ ขันธิกุล
พัสเกนทร์ พืชมงคล
กนกวรรณ รุ่งทรัพย์ทวีคูณ  น้องดาวผู้เรียนเก่ง ได้รับทุน เรียนจบแล้วกลับมาช่วยทำ FI ด้าน Retail MGL 
2565
T26
1 สุธาสินี โพธิ์แจ่ม  น้องผู้มีประสบการณ์และเสียงสวย แต่อธิบายพี่ได้งง ฟังไม่เข้าใจ
2 ณัฐณิชา อ้นวงษ์  น้องมาย  ได้ทำ project DQ  Data Quality framework  ใดๆ คือยังทำไม่เสร็จสมบูรณ
2566
วิภาวรรณ จารุกิจพิพัฒน์  น้องแอมป์
ผู้ชื่นชอบการ Query และรักการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา 
มีน้ำใจ  และรักการทานขนม
นัทธ์หทัย หวังเสริมวงศ์  น้องแบงก์  หัวหน้า BA FI ผู้โดนย้ายจากการดู payment มาเรียนรู้งานหนักด้าน FI  และขอศึกษา LMS  อย่างลึกซืึ้ง
ณัฐฐิรา ทองเหลี่ยม  น้องตาล ที่ย้ายมาจาก IT  เป็นกำลังสำคัญที่ช่วยงาน FI หลายๆ เรื่องเลย
4  ใจใกล้ ชัยราช  น้องจาก IT มาช่วยงาน FI น้องแนน ชนา ส่งมาให้เรียนรู้ การทำ Mapping ตัวต่างๆ 
5 มนธิรา บุญยุภู  น้องหญิง ผู้ทำ RDT เรียนรู้งาน DQ  ขอ spec ไว้ด้วยได้ไหมค้า DQ1, DQ4
2567
น.ส. วีรดา สัตยาวุฒิพงศ์  น้องเพลง
พนักงานเข้าใหม่ที่มีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว เริ่มจากการงานปรับ Data source  CVA risk
ทำงานละเอียดรอบคอบ รวดเร็ว
2 น.ส.อรปภา กาญจนาคม  น้องเพลง  น้องจบใหม่ผู้ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน จบป. ตรี วิศวะเคมี โท DA    หัวหน้าหวังว่าจะมาทำงานแทนด้าน FI
ฉัตรตริน ติยะภูมิ  น้อง outsource ที่ผันตัวเองมาเป็นพนักงานประจำ  
ได้มาเรียนรู้การสร้าง Suptool จากการดึงข้อมูลที่ datasource
ชฎาทิพย์ ปรางกุลเจริญกิจ  น้องบิว  น้องจาก IT มาช่วยงาน FI น้องแนน ชนา ส่งมาให้เรียนรู้ ARS 

 
บัตรพนักงานของฉัน


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม