สรุปเนื้อหาโรงเรียนผู้ตรวจการ 7
1.
หลักสูตร “สื่อสารสร้างสรรค์”
·
รู้จัก UNO Personality
ความรู้ ความสามารถ (Competencies) ที่ได้รับ:
PC 5 การสร้างและรักษาสัมพันธภาพ ระดับ PL 3
PC 5 การสร้างและรักษาสัมพันธภาพ ระดับ PL 3
PC 6 การสื่อความหมาย ระดับ PL 3
PC 8 ภาวะผู้นำ ระดับ PL 3
PC 8 ภาวะผู้นำ ระดับ PL 3
PC 10 การมีวิสัยทัศน์ ระดับ PL 3
สรุปเนื้อหา
การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
(Transactional
Analysis)
การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1 .ความหมาย ความสำคัญของการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล.
ความหมายของการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
(Transactional
Analysis) หมายถึง. คือ
การวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มาเกี่ยวข้องกัน
โดยเน้นการวิเคราะห์พฤติกรรม
เพื่อช่วยให้บุคคลเข้าใจความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้อื่นดีขึ้นและเพื่อบุคคลนั้นจะได้พัฒนาการสื่อสาร และมนุษยสัมพันธ์ของคนต่อบุคคลอื่นให้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1. ทำให้เข้าใจพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ เช่น วัตถุประสงค์
วิธีการและผล
2. ทำให้เข้าใจคนอื่นและลดความรู้สึกไม่ดีที่มีต่อบุคคลอื่น
3. ทำให้เข้าใจผู้ร่วมงานได้ดียิ่งขึ้น
4. ช่วยกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการในด้านต่างๆ เช่น การใช้คำพูดลักษณะการเป็นผู้นำ
5. ทำให้เกิดการปรับตนเพื่อพัฒนาการและสัมฤทธิผลในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น
6. ทำให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
2.
การวิเคราะห์โครงสร้างบุคลิกภาพ
การวิเคราะห์โครงสร้างบุคลิกภาพ
(Structural
Analysis)
อีริค เบอร์น (Dr.Eric
Berne) ได้อธิบายเรื่องของโครงสร้างบุคลิกภาพ โดยอธิบายในลักษณะของสภาวะ หรือสถานะ (Ego State) ซึ่งเป็นลักษณะที่บุคคลสะสมและสร้างมาตั้งแต่ยังเยาว์วัยโดยไม่รู้ตัว
และได้อธิบายความหมายของสภาวะหรือสถานะ คือ
บุคลิกภาพซึ่งเป็นวิถีทางที่บุคคลแสดงออกในการดำเนินชีวิตในสังคม
โดยแบ่งสภาวะของบุคคลออกเป็น 3 แบบด้วยกัน ดังนี้
1.1 สภาวะ พ่อ แม่ (Parent Ego State - P) คือ
บุคลิกภาพที่มีลักษณะคล้ายพ่อแม่ หรือ
ผู้ปกครอง
1.2 สภาวะผู้ใหญ่ (Adult Ego State - A) คือ บุคลิกภาพที่มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่
หรือ ผู้มี
วุฒิภาวะสมบูรณ์
1.3 สภาวะเด็ก (Child Ego State - C) คือ
บุคลิกภาพที่มีลักษณะของความเป็นเด็ก
บุคคลโดยทั่วไปจะต้องมีบุคลิกภาพทั้ง 3 ส่วนนี้อยู่ในตัวแต่บุคลิกภาพที่ปรากฎหรือแสดงออกจะเป็นเพียงแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น
เช่น ถ้าบุคคลใดกำลังอยู่ในสภาวะเด็ก สำหรับสภาวะพ่อ แม่
หรือสภาวะผู้ใหญ่ก็จะไม่ปรากฎให้เห็น
การที่บุคคลจะแสดงบุคลิกภาพเป็นลักษณะใดขึ้นอยู่กับอารมณ์ เหตุผล
สถานการณ์บรรยากาศของการติดต่อเกี่ยวข้อง การวินิจฉัยสั่งการ ฯลฯ
1.1 สภาวะพ่อ แม่ คือ บุคลิกภาพที่แสดงออกเมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะมี
ลักษณะปกป้อง
และแสดงให้เห็นถึงความมีอำนาจ ตลอดจนแสดงออกถึงความรับผิดชอบ ซึ่งมีลักษณะแยกย่อย
ดังนี้
1.1.1 สภาวะพ่อ แม่ ที่เจ้าระเบียบ (Critical
Parent - CP) การแสดงออกจะเป็นไปในลักษณะที่เอาแต่ใจตัวเอง
ออกคำสั่ง เข้มงวด จุกจิก จู้จี้ และวิพากษ์วิจารณ์
1.1.2 สภาวะพ่อ แม่ ที่มีเมตตากรุณา (Nurtering
Parent - NP) การแสดงออกจะเป็นไปในลักษณะที่เอาใจใส่ ยกย่อง ชมเชย
ปกป้อง คุ้มครอง ช่วยเหลือ
1.2 สภาวะผู้ใหญ่ คือ
บุคลิกภาพที่แสดงออกเมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
โดยใช้เหตุผลและความคิดที่มีลักษณะเป็นตรรกศาสตร์
การดำเนินงานหรือการตัดสินใจของบุคคลที่มีสภาวะจิตแบบผู้ใหญ่จะไม่มีการใช้อารมณ์หรือความรู้สึกใด
ๆ มาเกี่ยวข้อง แต่จะใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเป็นปัจจัยในการตัดสินใจ
1.3 สภาวะเด็ก คือ
บุคลิกภาพที่แสดงออกตามธรรมชาติตามความต้องการของตนเองและตามสภาวะอารมณ์ต่าง ๆ
นั่นคือ บุคคลจะแสดงออกในสิ่งที่ตนเองต้องการที่จะกระทำโดยไม่สนใจเรื่องของเหตุผล
ดังนั้น พฤติกรรมในสภาวะนี้จะเป็นพฤติกรรมชอบเล่น ชอบเย้าแหย่คนอื่น ๆ หัวเราะ
ร้องไห้ ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะแยกย่อย ดังนี้
1.3.1 สภาวะเด็กปรับตัว (Adapted Child - AC) คือ บุคลิกภาพที่มีการปรับตัว
เพื่อให้บุคคลอื่นเกิดความพึงพอใจ ซึ่งจะอยู่รวมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข
1.3.2 สภาวะเด็กตามธรรมชาติ(Natural Child -
NC) คือ บุคลิกภาพที่มีลักษณะเป็นไปตามธรรมชาติ
มีการแสดงออกตามความต้องการของตนเอง เช่น ทุบตี เย้าแหย่ หัวเราะ ร้องไห้ ชอบเล่น ฯลฯ
เทคนิคการฟัง
3 มิติ
1 การฟังเพื่อรับรู้เนื้อหา
2 การฟังเพื่อรับรู้ความรู้สึก
3 การฟังเพื่อรับรู้ความตั้งใจ
นำไปใช้พัฒนา ได้ผลอะไรแล้วบ้าง
1.เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติมนุษย์
และความแตกต่างของพฤติกรรมบุคคล สามารถยอมรับตนเอง และผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น
2. เพื่อให้เรียนรู้วิธีการสื่อสารในการรักษาสัมพันธภาพที่ดี และสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องชัดเจน
3. เพื่อให้สามารถรับฟังผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้เรียนรู้วิธีการสื่อสารในการรักษาสัมพันธภาพที่ดี และสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องชัดเจน
3. เพื่อให้สามารถรับฟังผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อเรียนรู้รูปแบบการสื่อสาร 4 ประเภท รวมทั้งข้อดีและข้อเสียของแต่ละประเภท
•เข้าใจว่าเหตุใดการสื่อสารแบบเปิดเผยจึงเป็นรูปแบบที่ให้ผลดีที่สุด
•ระบุได้ว่าตัวท่านเองใช้การสื่อสารรูปแบบใดในที่ทำงาน
•เรียนรู้โมเดลการสื่อสารที่เรียกว่า ASERT
•ฝึกนำโมเดล ASERT มาใช้โน้มน้าวใจผู้คนในทางบวก
•เข้าใจว่าเหตุใดการสื่อสารแบบเปิดเผยจึงเป็นรูปแบบที่ให้ผลดีที่สุด
•ระบุได้ว่าตัวท่านเองใช้การสื่อสารรูปแบบใดในที่ทำงาน
•เรียนรู้โมเดลการสื่อสารที่เรียกว่า ASERT
•ฝึกนำโมเดล ASERT มาใช้โน้มน้าวใจผู้คนในทางบวก
สรุปเนื้อหา
Assertiveness หรือ การแสดงออกอย่างเหมาะสมคือพฤติกรรมหรือการแสดงออกด้วยคำพูด
หรือกิริยาอาการว่าเรามีความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่ปิดบังหรือ
อ้อมค้อม ด้วยความสุภาพตรงไปตรงมาในเวลาที่เหมาะสมโดยไม่ก้าวร้าว
การแสดงออกอย่างเหมาะสมเป็นการรักษาสิทธิ์หรือเป็นการแสดงสิทธิ์ของมืออาชีพ
ที่พึงกระทำในโลกของการจัดการสมัยใหม่
หากจะพูดถึง Assertiveness เราต้องเข้าใจถึงระดับการแสดงออกก่อนว่ามันมีอยู่สามระดับคือ Passive คือไม่กล้าแสดงออก Assertive คือแสดงออกอย่างเหมาะสม Aggressive คือการแสดงออกอย่างก้าวร้าว
หากจะพูดถึง Assertiveness เราต้องเข้าใจถึงระดับการแสดงออกก่อนว่ามันมีอยู่สามระดับคือ Passive คือไม่กล้าแสดงออก Assertive คือแสดงออกอย่างเหมาะสม Aggressive คือการแสดงออกอย่างก้าวร้าว
การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม (Assertive mode)
·
ควบคุมพฤติกรรมได้ดีขึ้น
·
รักษาสิทธิ
ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
·
รู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ
·
รู้ว่าอะไรควรพูดไม่ควรพูด
โมเดล ASERT
1. I'm
Not OK, You're OK
2. I'm
Not OK, You're Not OK
3. I'm
OK, You're Not OK
4. I'm
OK, You're OK
ประโยชน์ที่ได้รับ :
•การสื่อสารที่ตรงไปตรงมา ทำให้มีความชัดเจน และเกิดความผิดพลาดได้น้อย
•สามารถสื่อสารในสิ่งที่ตัวเองคิดโดยปราศจากความกลัวที่จะพูดออกมา
•สามารถเกิดการสื่อสารที่ชัดเจนและมีความเหมาะสมในการทำงาน ทำให้ผู้รับสารเข้าใจในทิศทางเดียวกัน
•การสื่อสารที่ได้ทั้งใจและงานในการเจรจาต่อรอง
3 Introduction to Big Data Analytics
By Assoc. Prof. Dr.
Thanachart Numnonda
สรุปเนื้อหา
Big Data คือ ลักษณะข้อมูลทุกอย่างที่เราเก็บไว้ในบริษัทของเรา
ไม่จำกัดว่าต้องเป็นในรูปแบบไหนหรือเป็นประเภทใด โดยลักษณะของข้อมูลที่ถือว่าเป็น big
data ได้นั้น จะประกอบไปด้วย 4V ได้แก่
·
Volume คือข้อมูลปริมาณมากและต่อเนื่อง
(Facebook, Google , etc)
·
Velocity คือข้อมูลเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
(ข้อมูลตลาดหุ้น, ข้อมูล Sensor)
·
Variety คือตัวข้อมูลมีความแตกต่าง
หลากหลาย (ข้อความ, รูป, วีดีโอ)
·
Veracity คือตัวข้อมูลมีความไม่แน่นอน
Big Data Analytics คือ กระบวนการวิเคราะห์เซ็ตข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ของข้อมูลเหล่านั้นที่ซ่อนอยู่ข้างใน
หาสิ่งเชื่อมโยงที่เชื่อมข้อมูลเหล่านั้นเข้าไว้ด้วยกัน หาเทรนด์ทางการตลาด
หาความต้องการของลูกค้า และข้อมูลอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนี้สามารถนำไปสู่การทำแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ
โอกาสในการสร้างผลกำไร การให้บริการที่ดีมากขึ้นแก่ลูกค้า
การปรับปรุงการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ
ความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในการแข่งขันทางการตลาด และผลประโยชน์ทางธุรกิจด้านอื่นๆ
เป้าหมายหลักของ Big
data analytics หรือ การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า คือ
ช่วยในการให้ข้อมูลกับบริษัทเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจโดยการใช้
นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data scientists) นักวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ
(predictive modelers) และผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ
มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการส่งผ่านภายในองค์กรหรือบริษัท
รวมไปถึงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบอื่นๆ ที่อาจซุกซ่อนอยู่ในระบบต่างๆของบริษัท
ซึ่งแหล่งข้อมูลที่จะถูกนำมาวิเคราะห์นี้หมายรวมถึง
เว็บเซิร์ฟเวอร์ล็อคและการคลิกดูข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
คอนเท้นท์บนโซเชี่ยลมีเดียและรายงานกิจกรรมต่างๆบนเครือข่ายสังคมออนไลน์
ข้อความจากอีเมลของลูกค้าและการตอบแบบสอบถาม
เสียงบันทึกรายละเอียดทางโทรศัพท์ของลูกค้า
และข้อมูลที่มีการบันทึกได้จากเซ็นเซอร์บนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อแบบ Internet
of Things
Big Data สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยเครื่องมือที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
เช่น Hadoop YARN MapReduce Hive หรือ NoSQL เป็นต้น โดยจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์เชิงลึก เช่น
การวิเคราะห์เพื่อคากการณ์ล่วงหน้า การทำเหมืองข้อมูล (Data mining) การวิเคราะห์ข้อความ และการวิเคราะห์ทางสถิติ นอกจากนี้เครื่องมือประเภท Mainstream
BI software และเครื่องมือแบบ data visualization ก็ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่อยู่ในกระบวนการการวิเคราะห์ข้อมูลเช่นกัน
ประโยชน์และการใช้งานของ
Big Data
Big Data จะเป็นประโยชน์ ต่อการใช้งานหลายประการ เช่น การใช้งานข้อมูลเกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัย
เอกสาร เครือข่ายทางสังคม หรือข้อมูลเฉพาะต่างๆ เช่น โรงพยาบาล คลังต่างๆ ซึ่ง Big
Data นี้เหมาะสำหรับการนำมาวิเคราะห์ข้อมูลดิบ
หรือข้อมูลกึ่งโครงสร้างต่างๆ นำไปใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
เพื่อหาการแก้ไขหรือหาวิธีการจัดการให้ธุรกิจให้เป็นไปตามที่คาดหวัง
ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ
ที่จะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจทำให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคนิคที่สามารถรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น
ประเภทของ Data Scientist
·
Data Businesspeople
·
Data Creatives
·
Data Developers
·
Data Researchers
Data Analytics Lifecycle ประกอบด้วย
1 Business User กำหนดความต้องการ
2 Data Warehouse Manager รวบรวมข้อมูล
3 Data Scientist สร้าง Model ข้อมูล
4 BI Analyst
นำเสนอมุมมองวิเคราะห์ใหม่ๆ
5 Business User วัดผลความมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ที่ได้รับ :
·
เข้าใจเนื้อหาของ Big Data ดียิ่งขึ้น
·
สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ Project
ระบบข้อมูลเพื่อรองรับการกำกับตรวจสอบแบบต่อเนื่อง และ DMSE รวมถึงานตรวจสอบสถาบันการเงินในยุคดิจิตอลได้ดียิ่งขึ้น
การสร้างเสริมกำลังใจในการทำงาน
วิทยากร คุณพิทยากร ลีลาภัทร์
สรุปเนื้อหา
ชักชวนให้คนพัฒนาตัวเองด้วยวิถีพุทธ
มีสติเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต เพื่อพบกับความสุขที่แท้จริง
ได้ข้อสรุปมาดังนี้
1. เพราะคาดหวังในเรื่องที่ไม่ตรงกับความจริง
Expectations คนจบใหม่มักจะคาดหวังสูงว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
พอเจอเรื่องจริงแล้วยอมรับไม่ได้ก็ถอดใจ
หรือคาดหวังว่าจะต้องเติบโต
ก้าวหน้า ลืมไปว่า มันมีปัจจัยเยอะนะ ไม่ใช่แค่เก่ง
2. เพราะชอบคิดเปรียบเทียบComparisons
เทียบกับเพื่อนที่จบมาด้วยกันทำไมมันไปเร็วจัง
เทียบกับคนที่เข้ามาใหม่เอ๊ะเราเก่งกว่าทำไมมันแซงเราเทียบกับคนเก่าไม่เห็นเก่งเลย
ทำไมได้ขึ้นตำแหน่ง
3. ความเคยชิน
คนเราอยู่กับของดีมีค่า แต่เห็นนานๆ เห็นทุกวัน เราชิน กลายเป็น Habits
อย่างคนไทยเจอแดดทุกวัน
ร้อนจนเบื่อ วันไหนหนาวจะดีใจ แต่ฝรั่งที่อยู่ใกล้ขั้วโลก เจอแดดเมืองไทย
ดีใจจนรีบถอดเสื้อ
4. ขาดฉันทะ
เพราะลืมไปว่า เรามาทำงานนี้เพราะอะไร เพื่อใคร และมันทำประโยชน์ให้ตัวเรากับคนอื่นสังคมประเทศชาติยังไง
เป็นเรื่อง Passion
5. ทัศนคติลบ
Bad Attitude มองแต่ส่วนเสียๆของงานที่ทำ ไม่มองข้อดี
ประโยชน์ที่ได้รับ :
·
ทำให้มีกำลังใจในการทำงานแม้มีปัญหาอุปสรรค
การนำเสนอรายงานการตรวจสอบ
ผอส. ยงศักดิ์ เซี่ยงหลอ ฝต. 1
สรุปเนื้อหา
การเสนอรายงานเป็นเทคนิคที่สำคัญที่สุดอันหนึ่ง
ที่ผู้ตรวจสอบต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ
เพราะเป็นสื่อที่แสดงถึงการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบทั้งหมด ผู้บริหารจะยกย่อง หรือไม่เห็นความสำคัญของผู้ตรวจสอบ
ก็เนื่องจากรายงานที่เสนอไป ผู้ตรวจสอบจะต้องเสนอรายงานที่ถูกต้อง
ให้ข้อมูลที่แท้จริง และประเมินผลจากข้อเท็จจริง ให้ข้อเสนอแนะที่มีเหตุผล
การเสนอแนะนั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ผู้ตรวจสอบจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริง
และให้เหตุผลได้สำหรับข้อเสนอแนะนั้น ๆ
การทำรายงานที่ดีจำเป็นต้องเขียนอย่างมีหลักเกณฑ์
สมเหตุสมผลและเป็นขั้นตอน ใช้คำที่ถูกต้อง รายงานต้องรัดกุม ชัดเจน และสมบูรณ์
รายงานที่ชัดเจนจะทำให้ผู้บริหารอ่านเข้าใจได้ตั้งแต่การอ่านครั้งแรก
รายงานที่ถูกต้องจะต้องประกอบด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง
รายงานที่สมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็น
และอยู่ในประเด็นที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ประโยชน์ที่ได้รับ :
สามารถนำเสนอรายงานการตรวจสอบได้ดียิ่งขึ้น
มีประสิทธิภาพ
การจัดทำและเขียนรายงานที่ดี
ผอส. วจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ฝกฉ.
สรุปเนื้อหา
การจัดทำรายงานการตรวจสอบ
การจัดทำรายงานหลังจากการตรวจสอบนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะ
1. เพื่อบันทึกสิ่งที่ตรวจพบและข้อสรุป ตลอดจนข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบ
2. เพื่อใช้เป็นเอกสารขั้นต้นสำหรับการทำให้องค์กรนั้นสมบูรณ์ขึ้น
3. เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในภายภาคหน้า
การจัดทำรายงานหลังจากการตรวจสอบนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะ
1. เพื่อบันทึกสิ่งที่ตรวจพบและข้อสรุป ตลอดจนข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบ
2. เพื่อใช้เป็นเอกสารขั้นต้นสำหรับการทำให้องค์กรนั้นสมบูรณ์ขึ้น
3. เพื่อใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในภายภาคหน้า
การจัดทำรายงานที่ดีควรประกอบด้วย
1. ความถูกต้อง
2. ความชัดเจน
3. ความกะทัดรัด
4. ข้อเสนอแนะ
5. ความทันกาล
1. ความถูกต้อง
2. ความชัดเจน
3. ความกะทัดรัด
4. ข้อเสนอแนะ
5. ความทันกาล
1. ความถูกต้อง
รายงานการตรวจสอบมีความถูกต้อง ข้อความทุกประโยค ตัวเลขทุกตัว เอกสารอ้างอิงทุกชิด จะต้องมาจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือ และผู้ตรวจสอบได้ทำการประเมินข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ความถูกต้องที่กล่าวถึงในรายงานต้องรวมถึง การทราบถึง หรือสังเกตการณ์ จนกระทั่งทราบอย่างแน่ชัดว่าได้ข้อเท็จจริงแล้ว ถ้ารายงานเกี่ยวกับสิ่งใดแล้ว ย่อมหมายถึงว่าสิ่งนั้นผู้ตรวจสอบได้ทราบ และ/หรือได้ยอมรับแล้วเป็นสิ่งที่ตรงตามข้อเท็จจริง
รายงานการตรวจสอบมีความถูกต้อง ข้อความทุกประโยค ตัวเลขทุกตัว เอกสารอ้างอิงทุกชิด จะต้องมาจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือ และผู้ตรวจสอบได้ทำการประเมินข้อมูลเหล่านั้นแล้ว ความถูกต้องที่กล่าวถึงในรายงานต้องรวมถึง การทราบถึง หรือสังเกตการณ์ จนกระทั่งทราบอย่างแน่ชัดว่าได้ข้อเท็จจริงแล้ว ถ้ารายงานเกี่ยวกับสิ่งใดแล้ว ย่อมหมายถึงว่าสิ่งนั้นผู้ตรวจสอบได้ทราบ และ/หรือได้ยอมรับแล้วเป็นสิ่งที่ตรงตามข้อเท็จจริง
2. ความชัดเจน
หมายถึง ความสามารถในการส่งข้อความ หรือความต้องการของผู้ตรวจสอบ หรือสิ่งที่ต้องการเสนอไปสู่ผู้อ่านรายงานให้เข้าใจเหมือนดังที่ตนตั้งใจ หากใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือ อาจจะทำให้ผู้อ่านรายงานเกิดความเข้าใจแตกต่างจากที่เป็น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขในแนวทางที่แตกต่างกันไปจากเป้าหมายที่ตั้งใจ
หมายถึง ความสามารถในการส่งข้อความ หรือความต้องการของผู้ตรวจสอบ หรือสิ่งที่ต้องการเสนอไปสู่ผู้อ่านรายงานให้เข้าใจเหมือนดังที่ตนตั้งใจ หากใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือ อาจจะทำให้ผู้อ่านรายงานเกิดความเข้าใจแตกต่างจากที่เป็น ซึ่งอาจจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขในแนวทางที่แตกต่างกันไปจากเป้าหมายที่ตั้งใจ
ในเบื้องต้น
ผู้ตรวจสอบต้องทำความเข้าใจในเรื่องที่จะเสนอรายงานให้แจ่มแจ้งเสียก่อน
หากไม่ทำความแจ่มแจ้งให้เกิดขึ้นแล้ว ก็คงยากที่จะเขียนรายงานได้อย่างชัดเจน
ผู้ตรวจสอบต้องแน่ใจว่า เรื่องที่จะเขียนในรายงานนั้นมีอยู่แล้วอย่างเพียงพอหรือไม่
ควรที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกหรือไม่
ความต่อเนื่อง
หรือการจัดลำดับข้อความในรายงาน เป็นการช่วยให้รายงานนั้นเกิดความเด่นชัด
หรือชัดเจนยิ่งขึ้น การสร้างความชัดเจนอาจจำเป็นต้องมีตารางตัวเลขประกอบไปด้วย
เพื่อให้เกิดความเข้าใจดียิ่งขึ้น
3. ความกะทัดรัด
หมายถึง การตัดสิ่งฟุ่มเฟือย หรือไร้สาระออกจากรายงานการตรวจสอบ แต่ไม่ได้หมายถึงการเขียนรายงานสั้น รายงานจะยาวหรือสั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะเสนอในรายงานนั้นมีมากน้อยเพียงใด ถึงแม้ว่าการตัดทอนจะมีมากน้อยเพียงใดก็ตาม ผู้ตรวจสอบยังคงต้องรักษาความต่อเนื่องของแนวความคิด เพื่อให้ผู้อ่านรับความคิดอย่างต่อเนื่อง
หมายถึง การตัดสิ่งฟุ่มเฟือย หรือไร้สาระออกจากรายงานการตรวจสอบ แต่ไม่ได้หมายถึงการเขียนรายงานสั้น รายงานจะยาวหรือสั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะเสนอในรายงานนั้นมีมากน้อยเพียงใด ถึงแม้ว่าการตัดทอนจะมีมากน้อยเพียงใดก็ตาม ผู้ตรวจสอบยังคงต้องรักษาความต่อเนื่องของแนวความคิด เพื่อให้ผู้อ่านรับความคิดอย่างต่อเนื่อง
4. ข้อเสนอแนะ
การวิจารณ์ข้อบกพร่องโดยไม่มีการให้ข้อเสนอแนะ เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ ในทำนองเดียวกัน การวิจารณ์โดยปราศจากการเสนอแนะข้อยุติที่ชอบด้วยเหตุผล ก็ไม่เป็นการเหมาะสมเช่นกัน และจะทำให้รายงานไม่มีความหมาย เพื่อที่จะทำให้รายงานเป็นที่ยอมรับ การเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงาน แทนที่จะเป็นการตำหนิการปฏิบัติงาน จะทำให้รายงานมีคุณค่าขึ้น
การวิจารณ์ข้อบกพร่องโดยไม่มีการให้ข้อเสนอแนะ เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ ในทำนองเดียวกัน การวิจารณ์โดยปราศจากการเสนอแนะข้อยุติที่ชอบด้วยเหตุผล ก็ไม่เป็นการเหมาะสมเช่นกัน และจะทำให้รายงานไม่มีความหมาย เพื่อที่จะทำให้รายงานเป็นที่ยอมรับ การเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงาน แทนที่จะเป็นการตำหนิการปฏิบัติงาน จะทำให้รายงานมีคุณค่าขึ้น
5. ความทันกาล
หมายถึง การเสนอรายงานต้องกระทำภายในเวลาที่เหมาะสม เพราะต้องมีการนำรายงานไปดำเนินการต่อ การสั่งการของผู้บริหารต้องใช้ข้อมูลที่ดีและทันเวลา เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
หมายถึง การเสนอรายงานต้องกระทำภายในเวลาที่เหมาะสม เพราะต้องมีการนำรายงานไปดำเนินการต่อ การสั่งการของผู้บริหารต้องใช้ข้อมูลที่ดีและทันเวลา เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
ภาพรวมของการเขียนรายงานที่ดี
|
ข้อคิดเห็นจากผู้บริหารใน สกส.
|
1. ข้อมูลมีความกระชับ ชัดเจน และตรงประเด็น
|
ผู้บริหารทุกท่าน
|
2. ทันตามกำหนดเวลา
|
ผอส.ฝกฉ. , ผอ.ฝสจ.
|
3. ร้อยเรียงเรื่องได้เป็นขั้นตอน ไม่วกไปวนมา กำหนด Outline ให้ชัดเจนว่าต้องการสื่อสารอะไร
|
ผก. , ผอส.ฝต2. , ผอส.ฝกฉ.ผอส.ฝคง.
|
4. ใช้ตาราง หรือแผนภาพประกอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
|
ผอส.ฝต3. , ผอ.ฝวพ.
|
5.
Format มีความถูกต้อง
|
ผอส.ฝต1. , ผอส.ฝกฉ.
|
6. เขียนให้ตรงกับข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบพบ ไม่เอาเค้าโครงรายงานตรวจสอบปีก่อน
ๆ มาเป็นต้นแบบ
|
ผอส.ฝต1. , ผอส.ฝคง.
|
วิธีแก้ไขการเขียนรายงานที่ไม่ดี
1 กำหนด Outline
2 สื่อสาร Key Message
3 ทดสอบ Story Line
ประโยชน์ที่ได้รับ :
·
ใช้เวลากับการแก้รายงานน้อยลง
·
รักษาสัมพันธภาพกับผู้รับสาร ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด
·
การทำงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากขึ้น
·
ผู้รับสารเข้าใจสารที่ต้องการสื่อ
·
ลดโลกร้อน (ลดกระดาษ)
ลดพลังงาน
·
ความคิดเป็นระบบมากขึ้น การทำงานเป็นระบบมากขึ้น
การสื่อสารและนำเสนอ บุคลิกภาพของผู้ตรวจการ
ผอ. สุจารี มนชน ฝต.2
สรุปเนื้อหา
มุมมอง ความคาดหวัง กับบทบาทการกำกับตรวจสอบ
What can we do ?
แม่นหลักการ และเป็นนักประยุกต์ที่ดี
“คุยกันแบบ Substance over Form”
·
ชี้ประเด็นด้วยหลักการและเหตุผล และความเสี่ยงเป็นหลัก
·
อย่าเน้นอ้างประกาศ เกณฑ์ ธปท.
ให้เน้นอ้างถึงเจตนารมณ์เป็นหลัก
·
ยอมรับว่าโลกเปลี่ยน การเดินไปสู่เจตนารมณ์เดียวกัน
อาจด้วยวิธีการที่เปลี่ยนไป
·
ถามตัวเองในจุดที่ comment ว่าเราห่วงอะไร ความเสี่ยงในเรื่องนี้คืออะไร แบงก์ทราบหรือไม่ ปัจจุบันจัดการอย่างไร
ความเสี่ยงที่เหลืออยู่ยอมรับได้หรือไม่?
การสื่อสารชัดเจน ตรงประเด็น
Writing
“กระชับ เน้น
ๆ เขียนอย่างที่คิด”
· อย่ายึดติดกับกรอบเดิม ๆ หรือเขียนตามฟอร์มเดิม ๆ
· ประมวลความคิด + สร้างโครงร่าง ก่อนเขียน
· ประเมินและเขียนให้เหมาะกับผู้อ่าน
· เขียนสื่อให้ชัดเจน โดยไม่ต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติม
· เลือกช่องทาง และวิธีการสื่อให้เหมาะสม
Face to Face
“ตรงประเด็น
ให้เกียรติ และ รับฟัง”
· วางแผนและเตรียมตัวให้ดีก่อนการสื่อสาร
· สวมหมวกคนที่สื่อสารด้วย
· เป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการให้ชัด
· สื่อสารด้วยท่าทางเป็นมิตร และรับฟังอย่างตั้งใจ
· สรุปและสอบทานความเข้าใจก่อนจบการสื่อสาร
การเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ
การแต่งกาย
·
การวางตัว การพูดจา ไม่ยกตนข่มท่าน หรือแสดงอำนาจ
·
การตรงต่อเวลา รักษามารยาทในห้องประชุม
·
การทำการบ้าน ศึกษาข้อมูลก่อนการตรวจสอบและการประชุม
·
มีความรอบรู้ ให้คำแนะนำได้
·
ความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ รักษาความลับ
รักษาคาพูด
·
ให้เกียรติกันและกัน
·
ช่วยกันดูแล สนับสนุน teamwork
ประโยชน์ที่ได้รับ :
·
คล่องตัว ตื่นตัว active
·
รอบรู้ ทันโลก ทันเหตุการณ์
·
แม่นหลักการ และนักประยุกต์ที่ดี
·
multi-function
·
สื่อสารชัดเจน ตรงประเด็น
·
ลึกในงานที่ทำ แต่มองภาพกว้างได้
·
ช่างสังเกต ตั้งประเด็น
·
ทำงานเป็นทีม
·
ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
·
เป็นมิตรและน่าเชื่อถือ
*****************************
8 FinTech ยุทธศาสตร์ ธปท. และแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรมทางการเงิน
ผอส. บัญชา มนูญกุลชัย ฝทง.
สรุปเนื้อหา
FinTech= Financial + Technology
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงิน
FinTech ช่วยตอบโจทย์ของประเทศได้อย่างไร
·
เพิ่มประสิทธิภาพการทางานและการให้บริการ
·
เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน
·
เพิ่มบริการที่หลากหลาย ราคาเป็นธรรม
·
เพิ่มการแข่งขันของผู้ให้บริการ
·
สร้างนวัตกรรมใหม่
ประโยชน์ของ FinTech
ผู้ให้บริการ
·
แข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ
·
ประสิทธิภาพการให้บริการเพิ่มขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง
·
มีฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์
ผู้บริโภค
·
เข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่าย หลากหลาย
รวดเร็ว
·
ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ตรงขึ้นด้วยราคาที่เหมาะสม(Anywhere,
Anytime, Any Device)
6 Key Revolutionary Technologies
·
QR Payment
การนำเทคโนโลยี
QR Code มาใช้ในการชำระเงิน ซึ่งได้เพิ่มความสะดวก ลดการใช้เงินสด และทำให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงินที่ทั่วถึง
เช่น การชำระเงินด้วย QR Code ผ่าน Mobile Devices
·
Machine Learning / Aritificial Intelligence (AI)
กลไกที่ทำให้เกิดการประมวลผลที่ฉลาดขึ้น
และได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดยเรียนรู้จากสิ่งที่ทำหรือผลลัพธ์ที่ได้ก่อนหน้า
·
Standard / Open APIs (Application Programming
Interfaces)
ช่องทางการเชื่อมต่อจากระบบหนึ่งไปสู่ระบบอื่น ๆ เพื่อทำงานร่วมกัน
·
Blockchains and Distributed Ledgers
เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์
Distribuited Ledger / Databaseที่มีการเข้ารหัส
(Encryption) และกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ
·
Big Data / Data Analytics
ฐานข้อมูลขนาดใหญ่
ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์ (Data Analytics)เพื่อใช้ประโยชน์ในการเสนอบริการ
การกำกับดูแล บริหารความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เหมาะสม
·
Biometrics
การยืนยันตัวต้นโดยใช้ลักษณะทางชีวภาพของแต่ละบุคคล
เช่น การใช้ลายนิ้วมือ เสียง ม่านตา ใบหน้า
การใช้มาตรฐาน QR code สำหรับ
Card Payment ผ่าน Mobile Devices
MasterCard,
UnionPay และ VISA ผนึกกำลังครั้งแรกในโลกเปิดตัว
“มาตรฐาน QR Code” ที่จะใช้ร่วมกันสาหรับการชำระเงินด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์
ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ในประเทศไทย เพื่อยกระดับการชำระเงินแบบ e-Payment ให้ง่ายยิ่งขึ้น
แนวทางสนับสนุน FinTech ของผู้กำกับดูแลในต่างประเทศ
บทบาท
· จัดตั้ง Innovation center เพื่อสนับสนุน
FinTech
o UK
(FCA)
o Australia
(ASIC)
o Singapore
(MAS)
o KOREA
(FSC) + ภาครัฐ
· สนับสนุนเงินทุน ข้อมูลและ research
· ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ภาษีและwork permit
· ออกเกณฑ์กำกับดูแล
· ให้พื้นที่ Co-working space ในการเรียนรู้
ทดลอง
(Regulatory Sandbox / Laboratory)
o UK
(FCA)
o Australia
(ASIC)
o Singapore
(MAS)
o Malaysia
(BNM)
o Hong
Kong (HKMA)
· ร่วมกับภาคเอกชนจัดโปรแกรมการแข่งขัน
FinTech
· ผลักดันการศึกษาด้านนวัตกรรมคณิตศาสตร์
data scientistฯลฯ
แนวทางการส่งเสริม FinTech ของ ธปท.
·
แผนยุทธศาสตร์ที่สนับสนุน
Digital Economy
·
แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่
3
Payment System Development
Payment Systems Act
1.
ยกระดับระบบการชำระเงินให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
2.
มีกฎหมายกำกับดูแลที่เป็นเอกภาพ
และเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลเสถียรภาพระบบการชำระเงิน
3.
การกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น เอื้อต่อนวัตกรรมใหม่
ๆ
4.
เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน พัฒนาระบบการชำระเงินสู่ภูมิภาค
ภาพรวมโครงการ
National e-Payment
โครงการที่
1: ระบบพร้อมเพย์
พร้อมเพย์มีประโยชน์อะไรแก่ประชาชนบ้าง
· เพิ่มทางเลือกและความสะดวกในการโอนและรับเงินให้ประชาชน
· ลดภาระและต้นทุนในการบริหารจัดการเงินสดและพิมพ์ธนบัตรของประเทศ
· ดูแลประชาชนด้านสวัสดิการโดยจ่ายเงินผ่านช่องทางพร้อมเพย์
· ค่าบริการถูกลงกว่าบริการโอนเงินแบบเดิม
พร้อมเพย์สำหรับนิติบุคคล
ประโยชน์
· มีช่องทางรับชำระเงินและการจ่ายเงินที่สะดวก ช่วยเพิ่มโอกาสการทำธุรกิจ
และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
· ลดต้นทุนและลดความเสี่ยง ในการบริหารจัดการเงินสดและเช็ค บริหารเงินได้สะดวกคล่องตัว
โครงการที่
2 :การขยายการใช้บัตร
· ส่งเสริมการใช้บัตรเดบิต แทนการใช้เงินสด ช่วยเพิ่มความสะดวกในชีวิตประจำวัน
และลดต้นทุนของประเทศ
·
ส่งเสริมการติดตั้งเครื่องรับบัตรที่ร้านค้า
เพื่อเพิ่มจุดรับชำระเงิน ร้านค้าเพิ่มโอกาสในการขาย การบริหารจัดการเงินดีขึ้น
FinTech : Regulatory Sandbox
· ผู้ให้บริการ: นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน
· ลูกค้า: มีบริการที่หลากหลาย ตรงความต้องการ ใช้งานได้สะดวก
และมีค่าใช้บริการต่ำลง
การดำเนินการของ ธปท.
(1) จัดให้มี single point of contact (ฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงิน)
(2) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแล
(3) นำแนวทาง Regulatory Sandbox มาใช้
Regulatory Sandbox
•สนับสนุนการทดสอบนวัตกรรมทางการเงิน ที่นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้
โดยทดสอบในวงจำกัด และมีเกณฑ์การกำกับดูแลที่ยืดหยุ่น
•วัตถุประสงค์:
ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการทางการเงินและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ลดอุปสรรคด้านการกำกับดูแลในการพัฒนาบริการใหม่
ๆ
•หลักการ:
(1) เป็นนวัตกรรมทางการเงิน (2) คุ้มครองผู้บริโภค
และ (3) ดูแลความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
Cyptocurrency : Bitcoin กับการกำกับดูแลของ ธปท.
Bitcoin และหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ลักษณะใกล้เคียงกัน
· ไม่ถือเป็นเงินที่ชาระหนี้ได้ตามกฎหมาย และไม่มีมูลค่าในตัวเอง
· มูลค่าของหน่วยข้อมูลดังกล่าวแปรผันไปตามความต้องการของกลุ่มคนที่ซื้อขายหน่วยข้อมูล
· มูลค่าจึงเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าได้เมื่อไม่มีผู้ใดต้องการ
คำแนะนำสำหรับประชาชน
· ในการถือครองหรือลงทุนในหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทางการยังไม่ได้รับรองว่าสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ประชาชนควรระมัดระวัง ศึกษาข้อมูลและรายละเอียดให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
· มีความเสี่ยงที่มูลค่าของหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะผันผวน
หรือปรับลดค่าลงได้อย่างรวดเร็ว และอาจใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงและฉ้อโกงประชาชนได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
:
·
เข้าใจ FinTech ยุทธศาสตร์ ธปท. และแนวทางการส่งเสริมนวัตกรรมทางการเงินเพื่อสามารถเป็นผู้ใช้ที่ดีและประชาสัมพันธ์ให้กับคนอื่นต่อไปได้
ความคิดเห็น