Watson Summit Thailand ณ.โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์
คอมพิวเตอร์วัตสัน (Watson)
คือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของ บ.ไอบีเอ็มที่รวมคุณสมบัติปัญญาประดิษฐ์ (artificial
intelligence (AI)) และ ซอฟต์แวร์การวิเคราะห์อย่างชาญฉลาดเข้าไว้ด้วยกัน
เพื่อไว้ตอบคำถามด้านต่างๆ
โดยชื่อวัตสันนั้นมาจากชื่อผู้ก่อตั้งบริษัท IBM ที่ชื่อ
Thomas J. Watson นั่นเอง
เป็นเวลากว่า 6 ปีมาแล้วที่ IBM เผยโฉมปัญญาประดิษฐ์ Watson ในการแข่งขันรายการ Jeopardy จนปัจจุบัน Watson ก็มีพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทคโนโลยี Cognitive Computing ที่ IBM พยายามชูในฐานะเทคโนโลยีเบื้องหลัง Watson ที่ IBM ระบุว่าเป็นมากกว่าปัญญาประดิษฐ์ แต่เป็นการประมวลผล วิเคราะห์และเรียนรู้ข้อมูลขนาดใหญ่IBM เปิดศูนย์ Watson Center ที่ประเทศสิงคโปร์ เน้นเทคโนโลยีในอนาคต 2 กลุ่มคือ IBM Studiosงานด้านดีไซน์และ Cognitive Computing ยุคใหม่ กับ IBM Garage เน้นการวิจัยเรื่อง Blockchain
ผู้บริหารของ IBM ระบุว่าแวดวงเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปมาก การใช้คลาวด์และอุปกรณ์พกพากลายเป็นมาตรฐาน เมื่อคนนำไอทีเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น วิธีการสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักรจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญมาก ส่งผลให้ IBM ต้องลงทุนเรื่องนี้อย่างมาก คำตอบคือเทคโนโลยีกลุ่ม Cognitive Computing (ในทีนี้คือ Watson) และการดีไซน์
หุ่นยนต์ Nao-mi ที่เชื่อมต่อกับ Watson สามารถพูดตอบโต้กับคนได้ เปรียบเสมือนเป็นมาสค็อตของ Watson (ซึ่งไม่มีหน้าตา)
Cognitive
Computing เป็นการจำลองกระบวนการคิดแบบมนุษย์
เพื่อไปทำโมเดลในการคำนวณต่างๆ Cognitive
Computing เกี่ยวข้องกับระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้รูปแบบ data
mining ในการจดจำและการใช้ภาษาธรรมชาติเลียนแบบการทำงานสมองของคน
Cognitive Computing ถือเป็นแนวทางในการประมวลผลข้อมูล ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของการนำปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) อย่างเช่น Google AlphaGo เข้ามาใช้งานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงองค์ประกอบทั้งหมด 5 อย่าง ได้แก่
- การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data & analytics)
- ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence)
- ระบบที่เข้าใจภาษาธรรมชาติ ภาพ เสียง แบบเดียวกับมนุษย์ (cognitive experience)
- การจัดการความรู้ที่มีบริบทเกี่ยวข้อง (cognitive knowledge)
- โครงสร้างพื้นฐานในการประมวลผล (computing infrastructure)
เหตุผลที่ IBM ต้องพัฒนาระบบ Cognitive Computing ที่ซับซ้อนและไปไกลกว่างานทางปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทั่วไป เนื่องจากการตอบคำถามของมนุษย์และข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมาก มีความสลับซับซ้อนสูง การพัฒนาด้านอัลกอริทึมของระบบที่สามารถเรียนรู้ได้ จึงต้องอาศัยโครงสร้างที่ซับซ้อน ทั้งเรื่องของแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการตัดสินใจ และสำคัญที่สุดคือเรื่องของฮาร์ดแวร์ที่ต้องตอบสนองความเปลี่ยนแปลงและข้อมูลจำนวนมาก
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้งานทางปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของระบบทั้งหมด Cognitive Computing ที่ต้องผสานศาสตร์หลายอย่าง ไม่เพียงแต่การเขียนโปรแกรมและพัฒนาระบบแต่เพียงอย่างเดียว
ระบบ Watson ในปัจจุบัน
ปัจจุบัน Watson ถูกให้บริการใน 2 รูปแบบหลักๆ
แบบแรกคือแพลตฟอร์มและบริการสำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ IBM ในแต่ละสาขาหรืออุตสาหกรรม เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ต้องเทรนให้รู้จักบริบทของแต่ละธุรกิจ การนำข้อมูลเข้าไปใส่ใน Watson จึงมีความสำคัญมาก ปัจจุบัน Watson ดึงข้อมูลมาจาก 4 ช่องทาง ได้แก่ ข้อมูลจากทาง IBM เอง (รวมถึงบริษัทต่างๆ ที่ IBM เข้าซื้อกิจการ) ข้อมูลที่เข้าถึงได้จากสาธารณะ (publicly sourced data) ข้อมูลที่มาจากองค์กรที่เป็นพันธมิตร (partner provided data) และข้อมูลที่มาจากระบบของลูกค้าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน (private client data)
ข้อมูลเหล่านี้จะถูกทำให้เป็นส่วนตัว (anonymized) ก่อนนำมาเป็นฐานข้อมูลให้ Watson นำไปประมวลผล
นอกจากฐานข้อมูลแล้ว IBM ยังเพิ่มความสามารถของ Watson ให้รองรับความสามารถใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น และเปิดให้บริการในรูปแบบ Watson-as-a-Service โดยมี API ต่างๆ ที่ตั้งแต่นักพัฒนาไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่สามารถเข้าไปใช้ได้
ถ้ามองจากจุดเริ่มต้นของ Watson ในปี 2011 ที่แข่งรายการ Jeopardy! และทำได้เพียงแค่การตอบคำถาม ก็ต้องถือว่า Watson เดินทางมาไกลมาก
ตัวอย่างความสามารถใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามา ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพ การแยกแยะใบหน้า การวิเคราะห์ภาษาและคำพูด แปลงเสียงเป็นข้อความ ตลอดจนถึงการวิเคราะห์น้ำเสียงหรือลักษณะอารมณ์ทางภาษา (tone analyzer)
ภายในสิ้นปี 2016 นี้ IBM จะเพิ่มความสามารถใหม่ๆ เข้ามาอีก เช่น การวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึก (emotion analysis) การประเมินความเสี่ยง ระบบช่วยตัดสินใจ ฯลฯ
Watson เปิดให้นักพัฒนาภายนอกใช้งานผ่าน API บนแพลตฟอร์มคลาวด์ IBM Bluemix ปัจจุบันมี API ให้ใช้งาน 28 ตัว และในอนาคตจะเพิ่มเป็น 50 ตัว บริษัทก็ตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มความสามารถใหม่ให้ Watson ทุกปี
สรุป
ดังจะเห็นได้จากข้างต้นว่า IBM Watson ถือเป็นระบบประมวลผลข้อมูลแนวทางใหม่ที่ไปไกลกว่าแนวทางแบบปัญญาประดิษฐ์ที่หลายบริษัทในตลาดกำลังทำอยู่ เพราะระบบของ Watson นั้น ครอบคลุมไปถึงการที่ตัวระบบสามารถเรียนรู้ ผสานข้อมูล และสามารถทำให้ข้อมูลที่อยู่ในระบบนั้น มีคุณค่า (making sense of data) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจถึงข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากได้ ในเวลาเดียวกันก็นำเสนอบริการที่ดีขึ้นให้กับผู้ใช้บริการได้ในเวลาเดียวกัน และยังช่วยวิเคราะห์และพัฒนางานในองค์กรอีกด้วย
IBM Watson ในปัจจุบันจึงไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์ที่มานั่งตอบคำถามอยู่ในรายการเกมโชว์เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของแพลตฟอร์มที่จะช่วยทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจข้อมูล และนำเสนอตัวเลือกที่ดีที่สุดจากข้อมูลเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น ระบบของ Watson ในฐานะของการบริการ จึงเป็นอนาคตของการประมวลผลสำหรับข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกำลังจะมาถึงเราในอนาคตอันใกล้นี้
ร่วมค้นพบแนวคิดและแลกเปลียนมุมมองใหม่ๆ
ในการก้าวสู่ธุรกิจยุคค็อกนิทิฟด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย อาทิเช่น Artificial
Intelligence (AI), Machine Learning, Blockchain, Internet of Things (IoT) ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญและบริษัทชั้นนำที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น
รับฟังการบรรยายพร้อมชมสาธิตการทำงานของระบบ การทำเวิร์คช็อป
และโซลูชันบู้ทมากมายภายในงานที่ครอบคลุมทั้ง Cognitive, Security, Cloud
and Infrastructure
โดยมีประโยชน์กับงานดังนี้
1 รับฟังเทคโนโลยีเทรนด์ล่าสุดที่จะมาเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจดิจิตอล
ไม่ว่าจะเป็นแมชชีนเลิร์นนิ่ง เทคโนโลยีค็อกนิทีฟ บล็อกเชน iOt และอื่นๆ
2
แลกเปลี่ยนมุมมองและสร้างแรงบันดาลใจในการปรับใช้เทคโนโลยีค็อกนิทีฟจากผู้บริหารชั้นนำและองค์กรที่ได้ริเริ่มปรับใช้แล้ว
3 ชมโซลูชั่นด้านค็อกนิทิฟที่น่าตื่นตาตื่นใจมากมาย
ครอบคลุมทั้ง Cognitive, Security, Cloud and Infrastructure
4 เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้และพัฒนา API
ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจแบบเดิมๆสู่ยุคดิจิตอล
5 เทคโนโลยี API กับความสามารถในการคิดและเรียนรู้เพื่อการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า
และการนำไปปรับใช้ทางธุรกิจ
มาทำการรู้จักกับ Products ของ IBM ในงานดังนี้
1 Cognitive Workplace
เพราะพนักงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร และถ้ามีการเตรียมเครื่องมือและสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องให้กับพนักงานก็จะช่วยส่งเสริมการสร้างประสิทธิภาพประสิทธิผลให้กับองค์กร Cognitive Workplace จะช่วยทำให้เห็น performance ของพนักงานและช่วยให้อยากอยู่ในองค์กรตลอดไป
2 Customer Engagement in the Cognitive Era
มาทำการรู้จักกับ Products ของ IBM ในงานดังนี้
1 Cognitive Workplace
เพราะพนักงานเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร และถ้ามีการเตรียมเครื่องมือและสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องให้กับพนักงานก็จะช่วยส่งเสริมการสร้างประสิทธิภาพประสิทธิผลให้กับองค์กร Cognitive Workplace จะช่วยทำให้เห็น performance ของพนักงานและช่วยให้อยากอยู่ในองค์กรตลอดไป
2 Customer Engagement in the Cognitive Era
Customer Journey คือสิ่งสำคัญสำหรับนักการตลาดทุกคน เพราะหากเราเข้าใจและเข้าถึงเส้นทางสู่การซื้อสินค้าหรือบริการของกลุ่มเป้าหมายของเรา เราจะมีโอกาสเข้าใจและนำเสนอบริการและแคมเปญการตลาดที่เข้าถึงทุกๆ Touch point ของกลุ่มลูกค้าของเรา IBM Watson Customer Engagement เข้าใจถึงจุดนี้ แต่ไม่ได้นำเสนอโซลูชั่นด้านมีเดีย ในทางกลับกัน กลับใช้ เทคโนโลยี Cognitive เข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับ Customer Engagement ในระดับไฮเอน ซึ่งมีด้วยการ 3 โซลูชั่น คือ Watson Marketing. Watson Commerce และ Watson Supply Chain บริการที่จะเปิดโอกาสให้นักการตลาด สามารถเข้าถึง Insight ของลูกค้า เพื่อ Engage และนำเสนอที่ดีกว่า เหมาะสมและส่วนตัวกว่า เพื่อสร้างประสบการณ์ และการตัดสินใจของลูกค้าในทุกๆ Journey
IBM Watson Customer Engagement จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่นักธุรกิจ และนักการตลาด เลือกใช้บริการเพื่อเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจและองค์กรของตน ซึ่งปัจจุบันไอบีเอ็มได้ร่วมกับบริษัทต่างๆ มากกว่า 17,000 แห่งทั่วโลก ในหลากหลายอุตสาหกรรม ในการนำ IBM Watson Customer Engagement เข้าเสริมศักยภาพธุรกิจ รวมถึงองค์กร ทั้ง Amadori Group, American Eagle Outfitters, Boots, Ermes, Luxottica, Moosejaw Mountaineering, Office Brands, Performance Bicycle, REI, The Clorox Company, The North Face, The Works UK, William Sonoma และธุรกิจต่างๆ
3 Insights for a Cognitive BusinessThe Weather Company
The Weather Company เป็นธุรกิจที่ทางไอบีเอ็มให้ความสำคัญ เป็นการให้บริการด้านข้อมูลสภาพอากาศ โดยนำเสนอ ข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกของสภาพอากาศที่ถูกต้องมากที่สุด ครอบคลุมตั้งแต่แอพข้อมูลสภาพอากาศชั้นนำบนแพลตฟอร์มอุปกรณ์เคลื่อนที่สำคัญทั้งหมดทั่วโลก เพราะเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลกของสถานีบริการข้อมูลสภาพอากาศส่วนตัว ซึ่งช่วยให้ผู้คนสามารถตัดสินใจและลงมือตอบสนองต่อสภาพอากาศโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน ซึ่งนักการตลาดและธุรกิจหลายรายก็ได้ใช้บริการ The Weather API ในการเพิ่มมูลค่าและการต่อยอดธุรกิจกันแล้วหลายราย เช่น Weather Means Business™ แบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลกในด้านการบิน การพลังงาน การประกันภัย สื่อ และภาครัฐต่างก็ให้ความไว้วางใจในข้อมูล แพลตฟอร์มเทคโนโลยี และบริการของ The Weather Company ว่าจะช่วยให้ตัดสินใจและตอบสนองต่อผลกระทบของสภาพอากาศที่มีต่อธุรกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพดีซึ่งแน่นอนว่า รวมถึงเว็บไซต์ Weather.com และเว็บไซต์ชั้นนำ 20 อันดับแรกในสหรัฐฯ ก็ยังใช้บริการ The Weather Company ของทางไอบีเอ็มเช่นกันสำหรับข้อมูล The Weather Company สามารถดูเพิ่มเติม ได้ที่ theweathercompany.com
4 Cognitive Security Operations Center
เป็นการนำเอาเทคโนโลยี Cognitive Computing มาวิเคราะห์ข้อมูลด้าน security ที่นับวันจะมีความซับซ้อนและขนาดของข้อมูลก็ใหญ่มากขึ้น รวมไปถึงการทำ Data Visualization เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งกระบวนการของ IBM ไม่เพียงวิเคราะห์และป้องกันการโจมตีเท่านั้น แต่ยังมีการคาดการณ์การโจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตด้วย
อีกหนึ่งกรณีที่ถูกพูดถึงคือการนำเอาระบบปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในลักษณะของ Chatbot สำหรับพนักงาน IT ได้สอบถามถึงข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไปจนถึงแนะนำวิธีการแก้ปัญหาในขั้นต้น
Time | Topic | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
8:30AM - 9:00AM | Registration & Solutions Showcase | |||||||||||
9:00AM - 9:15AM Khun Parnsiree Amatayakul Managing Director IBM Thailand Co., Ltd. |
| |||||||||||
9:15AM - 10:10AM |
| |||||||||||
10:20AM - 10:35AM Khun Soranai Lert-Ugsorn Vice President Production Planning & Technical Management PTT Public Company Limited, Rayong Gas Separation Plant |
| |||||||||||
10:35AM - 11:05AM | Coffee Break & Solutions Showcase | |||||||||||
11:05AM - 11:30AM Laura Guio VP Systems and Hybrid Cloud Services Center of Competency and Sales Global Technical Services |
| |||||||||||
11:30AM - 12:15PM |
| |||||||||||
12:15PM - 1:30PM | Networking Lunch & Solutions Showcase | |||||||||||
|
ความคิดเห็น