Building on IBM Innovation for the Future Sustainability and Modernization on Monday 19th December 2022

 สวัสดีค่ะ 

ปลายปีแล้ว เรามา Update Technology กันนะคะ 

หัวข้อ Future Sustainability  ยังคงเป็นประเด็นหลักกันอยุ่ทุกวงการไม่เว้นแม้แต่วงการ IT 

วันนี้ความยั่งยืนไม่ใช่เป็นเรื่องที่แค่ “มีก็ดี” แต่กลายเป็นวาระที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ และบรรจุเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาความสำเร็จขององค์กร

‘กรีนไอที’ พื้นฐานสำคัญขับเคลื่อนอนาคต ‘ยั่งยืน’


ร่วมงานสัมมนาเพื่อสร้างการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ พัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน

ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน 110 ปีของ IBM ที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีชั้นนำ มาตลอดนับแต่ อดีต ถึงปัจจุบัน และรองรับการเติบโตในอนาคต

      IBM ได้บุกเบิกโซลูชันต่าง ๆ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์เทคโนโลยีควอนตัมระบบโครงสร้างพื้นฐาน และการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

                     รวมถึงการนำเสนอแพลตฟอร์มชั้นนำสำหรับ Hybrid Cloud รองรับการใช้งานขององค์กรต่างๆ ทุกระดับทั่วโลก

          นอกจากนี้ IBM ยังได้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาโดยการนำเทคโนโลยีชั้นนำที่ผ่านการคิดค้นและพัฒนาเป็นอย่างดี


Data Fabric คืออะไร?

Data Fabric เป็นแนวคิดในการออกแบบกระบวนการเชื่อมโยงของ data เสมือนเป็นผืนผ้าที่ถักทอร้อยแต่ละชั้นข้อมูลเป็นผืนเดียวกันเพื่อที่เราจะสามารถควบคุมข้อมูลหรือสนับสนุนการทำงานได้อย่างเหมาะสม

มีประโยชน์อย่างไร

Data ในปัจจุบันอยู่อย่างกระจัดกระจาย มีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ยากต่อการบริหารจัดการ และเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาด้าน Data Silos ทำให้องค์กรไม่สามารถนำ Data ที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ IBM จึงได้นำเสนอสถาปัตยกรรมแบบ Data Fabric ขึ้น เพื่อให้องค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายด้วย Data Self-service ซึ่งสถาปัตยกรรมดังกล่าวจะเป็นอิสระต่อสภาพแวดล้อม กระบวนการ การใช้งาน และสถานที่ ในขณะที่สามารถบูรณาการความสามารถในการบริหารจัดการได้แบบ End-to-end นอกจากนี้ยังสามารถจัดการเรื่อง Integration, Discovery, Governance, Curation และ Orchestration ได้โดยอัตโนมัติ ช่วยให้องค์กรสามารถดึงประสิทธิภาพของ Data ออกมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากสถาปัตยกรรมแบบ Data Fabric ได้ดังนี้

1. เพิ่มความสามารถในการดึง Data มาใช้ได้ด้วยตนเอง (Data Self-service)

ความสามารถในการทำ Data Self-service ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องขององค์กรสามารถค้นหา Data ที่มีคุณภาพได้อย่างรวดเร็ว และใช้เวลาในการสำรวจ Data ได้นานยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องลึกที่ช่วยสร้างมูลค่าให้แก่ธุรกิจ เพิ่ม ROI ได้มากถึง 86 – 158%

2. จัดการเรื่อง Data Governance, Protection และ Security ได้โดยอัตโนมัติ

กระบวนการอัตโนมัติที่มี AI สนับสนุนสามารถดึงสาระสำคัญจากเอกสารจำพวกกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ออกมาเพื่อสร้างนิยามและกฎสำหรับการทำ Data Governance ได้โดยอัตโนมัติ ช่วยให้องค์กรเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับด้านธรรมาภิบาลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ลดความเสี่ยงในการโดนปรับจากการทำผิดกฎหมาย

3. จัดการงานด้าน Data Engineering โดยอัตโนมัติและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ Data Integration

ยกระดับและเร่งการส่งมอบ Data ภายในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น ขจัดกระบวนการด้าน Data Integration ที่ไร้ประสิทธิภาพ ซ้ำซ้อน และต้องลงมือทำด้วยตนเองให้หมดไป ทั้งยังช่วยสร้างการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์อย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ เพื่อสนับสนุนการส่งมอบ Data ที่มีคุณภาพให้แก่องค์กรได้




 /                                          





วันนี้อุตสาหกรรมไอทีปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนระหว่าง 1.8% – 3.9% ของการปล่อยก๊าซทั่วโลก โดยคณะกรรมาธิการยุโรปคาดการณ์ว่าปริมาณการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์จะเพิ่มขึ้นถึง 35% ในอีก 5 ปีข้างหน้า

International Energy Agency ยังได้ประมาณการณ์ว่าวันนี้ 1% ของไฟฟ้าทั่วโลกถูกใช้ไปกับดาต้าเซ็นเตอร์ และภายในปี 2025 ดาต้าเซ็นเตอร์จะใช้ 1/5 ของพลังงานไฟฟ้าทั่วโลก ขณะที่ Association for Computing Machinery ระบุว่าจำเป็นต้องมีการจำกัดการใช้พลังงานและการปล่อยคาร์บอนของระบบคอมพิวเตอร์ทั่วทั้งอุตสาหกรรม ICT หากต้องการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ดาต้าเซ็นเตอร์ใช้พลังงานมหาศาล และถือเป็นสัดส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมดขององค์กร แต่วันนี้เทคโนโลยีช่วยให้องค์กรสามารถลดการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนฟุตปริ้นท์ขององค์กรได้แล้ว ยังจะช่วยตอบโจทย์ท้าทายด้านความยั่งยืนขององค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ก้าวย่างกรีนไอที
ที่เป็นรูปธรรม

แอ็กเนสอธิบายว่าในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีสำคัญของโลก ไอบีเอ็มเองก็ได้ผนวกแนวคิดกรีนไอทีในทั้งอีโคซิสเต็มของธุรกิจ ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต งานปฏิบัติการ ไปจนถึงแนวทางการใช้เทคโนโลยี

ตัวอย่างเช่นการพัฒนาชิปขนาด 2 นาโนเมตร (nm) ตัวแลกของโลก ที่จะเป็นชิ้นส่วนสำคัญในอุปกรณ์ไอทีต่างๆ นับตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบขนส่งไปจนถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ๆ โดยชิปดังกล่าวมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 45% และใช้พลังงานน้อยลง 75% เมื่อเทียบกับชิปขนาด 7 นาโนเมตรในปัจจุบัน เทียบง่ายๆ ก็คือสามารถช่วยเพิ่มอายุแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือสี่เท่า ทำให้ผู้ใช้สามารถชาร์จโทรศัพท์มือถือทุกๆ สี่วัน แทนที่จะต้องชาร์จทุกวัน

แอ็กเนสยกตัวอย่างว่า “เรื่องนี้อาจดูไม่ได้สลักสำคัญนักหากพิจารณาจากแค่ชิปหนึ่งชิ้น แต่หากคิดถึงการนำชิปหลายล้านชิ้นไปใช้ ย่อมเห็นภาพการลดการใช้พลังงานอย่างเป็นรูปธรรม”

แอ็กเนส เฮฟท์เบอร์เกอร์ และ IBM LinuxONE Emperor 4

ระบบโครงสร้างพื้นฐาน
กรีนไอทีต่อยอดความยั่งยืน

เมื่อโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีอย่างดาต้าเซ็นเตอร์คือหนึ่งในต้นตอสำคัญของการใช้พลังงาน ระบบต่างๆ อย่างเมนเฟรมหรือเซิร์ฟเวอร์จึงเป็นส่วนที่ไอบีเอ็มต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน โดยล่าสุดไอบีเอ็มได้พัฒนา IBM LinuxONE ที่มองเรื่องความยั่งยืนตั้งแต่แนวคิดการออกแบบ

ฟรานซิส​ โก ผู้อำนวยการ IBM Z Systems และ LinuxONE จากกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี ของไอบีเอ็ม เอเชียแปซิฟิค อธิบายว่า IBM LinuxONE Emperor 4 เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความยั่งยืนตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการออกแบบ จึงสามารถลดการใช้พลังงาน 75% ลดการใช้พื้นที่ในดาต้าเซ็นเตอร์ลงได้ถึง 50% อีกทั้งยังสามารถลดฟุตปรินท์จาก CO2e 850 เมตริกตันต่อปี เมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ในระดับเดียวกัน

“สิ่งนี้ยังตอกย้ำว่า วันนี้ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีสามารถมาพร้อมกับประสิทธิภาพ ความปลอดภัยสูงสุด และการสนับสนุนความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมได้พร้อมๆ กัน”

ฟรานซิส ​เสริมว่า IBM LinuxONE Emperor 4 มีระบบ Scale-out-on-scale-up ที่รันเวิร์คโหลดด้วย high density และฟีเจอร์ในการเปิดใช้คอร์ที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ โดยไม่สร้างคาร์บอนฟุตปริ้นท์เพิ่มขึ้น ช่วยให้สามารถเพิ่มการตอบสนองต่อความต้องการและการทำธุรกรรมที่พุ่งสูงขึ้นได้ดีขึ้น โดยรองรับการประมวลผลธุรกรรม 25,000 ล้านรายการต่อวันได้อย่างปลอดภัย และยังสามารถแทรคการใช้พลังงานได้แบบเรียลไทม์

“วันนี้กลยุทธ์ความยั่งยืนไม่เพียงแต่เป็นวาระสำคัญ แต่โอกาสในการสร้างนวัตกรรม ลดต้นทุน และสร้างจุดต่างให้องค์กร เทคโนโลยีไม่ใช่ต้นทุนของการทำธุรกิจอีกต่อไป และวันนี้องค์กรต้องมองความยั่งยืนเป็นโอกาสทางธุรกิจและตัวเร่งการทรานส์ฟอร์ม” แอ็กเนสกล่าวทิ้งท้าย

                                                 แขกรับเชิญพิเศษ คุณวิชชุลดา ปัณทรานุวงศ์ ศิลปิน และผู้ก่อตั้งบริษัท เทิร์นทูอาร์ต จำกัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม)

        มาพูดคุยถึงการสร้างความยั่งยืน Sustainability ด้วยการนำงานศิลปะ จากขยะ วัสดุเหลือใช้ มาสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อม สภาพสังคม

                                                            ตัวเรา และองค์กรจะมีส่วนร่วมอย่างไร น่าสนใจใช่ไหมคะ


วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์  หรือ เอ๋ เชื่อว่างานศิลปะทุกชิ้นที่เธอสร้างขึ้นสามารถสะท้อน และช่วยขับเคลื่อนปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

ตั้งแต่เรียนจบมหาวิทยาลัย เอ๋ยังคงสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจากวัสดุที่หลายคนคิดว่าคงไม่สามารถทำอะไรต่อได้แล้วอย่างเศษผ้า กาว เศษพลาสติก กล่องอาหารที่ใช้แล้ว ฉลาก ฝาขวด ขวดพลาสติก ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงไปถึงสิ่งแวดล้อม

“ยิ่งพอศึกษาอย่างละเอียดยิ่งรู้ที่มาของวัสดุต่าง ๆ มากขึ้น ทำให้เรายิ่งอยากทำผลงานศิลปะที่สะท้อนให้ผู้ผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ได้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อะไรก็ตามที่พวกเขาผลิตขึ้นมามันยังคงตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม ไม่ถูกจำกัดอย่างถูกวิธี ตัวการสำคัญอย่างพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) บางชิ้นที่ไม่จำเป็นควรหายไปจากชั้นวางของได้แล้วและนั่นหมายความว่าผู้ผลิตควรหันมาใส่ใจห่วงโซ่อุปทานของตนและถึงเวลาที่ควรรู้ได้แล้วว่า ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบต่อปัญหาพลาสติกที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้การที่เราจะลดจำนวนพลาสติกควรมาจากตั้งทางไม่ใช่ปลายทางอย่างชั้นวางของ”


ธปท เองก็ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากๆ โดยจัดตั้งคณะทำงานส่งเสริมการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ใน Campaign : BOT go Green เปลี่ยนเราเปลี่ยนโลก

ธปท ได้รับการขึ้นทะเบียนลดก๊าซเรือนกระจกระดับองค์กรจากองค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เมื่อวันที่ 29 พย 65

เพื่อร่วมกันสร้าง BOT Green Community มาร่วมกันสร้าง ธปท ให้เป็นองค์กรสีเขียวอย่างยั่งยืน ขยะเป็นปัญหากระทบต่อสิ่งแวดล้อม ใช้เวลาย่อยสลายนานหลายปี ธปท จึงกำหนดเป็นเป้าหมาย โดยต้องอาศัยแรงผลักดันจากเพื่อนพนักงาน ผลสำรวจครั้งที่ 1 เรามีความ Green กันมากน้อยแค่ไหน พบว่าพนักงานมีความกรีน 62% โดยตั้งเป้าไว้ที่ 80%

เป็นที่น่ายินดีว่าจากการที่ ธปท ดำเนินการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อปีลดลง 25% เมื่อเทียบกับปี 2560 คิดเป็นการปลูกต้นไม้ประมาณ 18,003 ต้น











ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม